กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2406
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | วิเชียร ชาลี | |
dc.contributor.author | ณัฐกร แนบทอง | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:14:50Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:14:50Z | |
dc.date.issued | 2555 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2406 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ศึกษาการใช้กากแคลเซียมคาร์ไบด์ที่ได้จากโรงงานโดยตรงผสมกับเถ้าถ่านหิน และปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 เพื่อเป็นวัสดุประสานในคอนกรีต โดยใช้กากแคลเซียมคาร์ไบด์จากโรงงานโดยตรง ที่มีขนาดอนุภาคผ่านตะแกรงเบอร์ 8 และใช้ส่วนผสม แคลเซียมคาร์ไบด์ ต่อ เถ้าถ่านหิน ต่อ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ในอัตราส่วน 60:30:10, 60:20:20, 60:10:30, 50:40:10, 50:30:20, 50:20:30, 40:50:10, 40:40:20, 40:30:30 และ 0:0:100 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน ใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.45 และควบคุมค่ายุบตัวของคอนกรีตสดให้อยู่ในช่วง 50 ถึง 100 มม. โดยใช้สารลดน้ำพิเศษ หล่อตัวอย่างคอนกรีตทรงกระบอกขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 100 มม. สูง 200 มม. เพื่อทดสอบกำลังอัดคอนกรีตหลังบ่มในน้ำเป็นเวลา 7, 14, 28, และ 90 วัน ตลอดจนหา ความหนาแน่นของคอนกรีตที่อายุ 28 วัน ผลการศึกษาพบว่า การใช้กากแคลเซียมคาร์ไบด์ผสมคอนกรีตในปริมาณที่สูงขึ้น ส่งผลให้ กำลังอัดของคอนกรีตที่อายุ 28 วันลดลง โดยคอนกรีตที่ผสมกากแคลเซียมคาร์ไบด์ร้อยละ 60 โดยน้ำหนักวัสดุประสานมีกำลังอัดต่ำสุด (ในแต่ละปริมาณปูนซีเมนต์) อย่างไรก็ตาม การใช้กากแคลเซียมคาร์ไบด์ผสมในคอนกรีตมากขึ้น มีผลให้การพัฒนากำลังอัดของคอนกรีต ในช่วง 28 ถึง 90 วันสูงขึ้น และสูงกว่าคอนกรีตของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 การศึกษาครั้งนี้พบว่า คอนกรีตอัตราส่วน 40:30:30 มีกำลังอัดสูงสุดที่อายุ 28 วัน เท่ากับ 224 กก./ซม.2 (ร้อยละ 51 ของคอนกรีตควบคุม) และพัฒนากำลังอัดต่อเนื่องเป็น 262 กก./ซม.2 ที่อายุ 90 วัน (ร้อยละ 52 ของคอนกรีตควบคุม) นอกจากนั้นพบว่า คอนกรีตที่ผสมกากแคลเซียมคาร์ไบด์ทุกส่วนผสมมีความหนาแน่น ต่ำกว่าคอนกรีตของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.subject | การก่อสร้างคอนกรีต | th_TH |
dc.subject | กำลังวัสดุ | th_TH |
dc.subject | เถ้าถ่านหิน | th_TH |
dc.subject | แคลเซียมคาร์ไบด์ | th_TH |
dc.subject | สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย | |
dc.title | การใช้กากแคลเซียมคาร์ไบด์ที่ไม่ผ่านการบดในงานคอนกรีต | th_TH |
dc.type | บทความวารสาร | th_TH |
dc.issue | 2 | |
dc.volume | 17 | |
dc.year | 2555 | |
dc.description.abstractalternative | This research aimed to utilize original calcium carbide residue, fly ash and Portland cement type I as a cementitious material in concrete. The original calcium carbide residue from industries with the particles passed a sieve No.8 were used. The ratio of 60:30:10, 60:20:20, 60:10:30, 50:40:10, 50:30:20, 50:20:30, 40:50:10, 40:40:20, 40:30:30 and 0:0:100 by weight of calcium carbide residue : Mae Moh fly ash : Portland cement type I were used as a binder to cast concrete. The water to binder (W/B) ratio was kept constant at 0.45 and the slump of fresh concrete was also controlled between 50 to 100 mm by varying the amount of superplasticizer. The cylindrical concrete specimen of 100-mm diameter and 200-mm height were cast and tested for compressive strength after 7, 14, 28 and 90 days of water curing. In addition, the density of concrete was determined at the age of 28 days. The results show that the compressive strength at 28 days decreases as the amount of calcium carbide residue replacement increases, and the lowest compressive strength was founded in concrete containing calcium carbide residue of 60% by weight of binder (for each cement content). However, during 28 to 90-day, the increase of calcium carbide residue replacement level resulted in the increase of strength development of calcium carbide residue concrete, which was higher than that of Portland cement type I concrete. The study found that the maximum compressive strength at 28 days was 224 ksc (normalized compressive strength of 51%) and developed to be 262 ksc at 90 days (normalized compressive strength of 52%) for the mixture of 40:30:30. Also, the density of all concrete containing calcium carbide residue was lower than that of Portland cement type I concrete | en |
dc.journal | วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา = Burapha science journal. | |
dc.page | 38-49. | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น