กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2372
ชื่อเรื่อง: สัดส่วนชีวภาพของแอคติโนมัยซีทที่แยกได้จากดินชายฝั่ง: แหล่งใหม่ของแอคติโนมัยซีทที่สามารถสร้างสารต้านจุลินทรีย์.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัตนาภรณ์ ศรีวิบูลย์
มรกต สุกโชติรัตน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: จุลินทรีย์
วันที่เผยแพร่: 2006
บทคัดย่อ: ได้เก็บตัวอย่าง จำนวน 40 ตัวอย่าง จากบริเวณเกาะชายฝั่งภาคตะวันออกของไทย คือ เกาะช้าง เกาะหวาย ในจังหวัดตราด และเกาะไผ่ ในจังหวัดชลบุรี โดยใช้อาหารเลี้ยงเชื้อ คือ อาหาร Actinomycetes Isolation Agar, Starch Casein Agar และ Glucose Asparagine Agar พบแอคติโนมัยซีททั้งหมด 495 ไอโซเลต และนำมาทดสอบเบื้องต้นเพื่อค้นหาแอคโนมัยซีทที่สามารถในการสร้างสารยับยั้งแบคทีเรีย โดยใช้ Bacillus subtilis TISTR 008, Staphylococcus aureus TISTR 517 (ATCC 25923) Micrococcus luteus TISTR 884, Pseudomonas aeruginosa TISTR 781 และ Escherichia coli TISTR 887 (ATCC 25922) เป็นแบคทีเรียทดสอบ พบว่ามีแอคติมัยซีทจำนวน 58 สายพันธุ์ สามารถสร้างสารแอนติไบโอติกยับยั้งแบคทีเรียทดสอบได้ จากการทดสอบรูปร่างลักษณะทางสัญฐานวิทยา การศึกษาชนิดของกรดไดอะมิโนไพมิลิคที่พนังเซลล์และองค์ประกอบของน้ำตาลจากการย่อยสลายเซลล์ พบว่าใน 58 สายพันธุ์ส่วนใหญ่เป็น Streptomyces sp. และ Actinomadura sp. นอกนั้นเป็นMicromonospora sp., Microbispora sp., Nocardia sp., Pseudonocardia sp., Saccharomonospora sp., Streptoalloteichus sp. and Streptoverticillium sp. และแอคติโนมัยซีทที่สามารถสร้างสารยับยั้งได้จะยับยั้งแบคทีเรียแกรมบวกส่วนใหญ่ ดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถยับยั้ง Micrococcus luteus TISTR 884 แต่พบ 8 สายพันธุ์ คือ Actinomadura sp. 4 สายพันธุ์ Micromonospora sp. 2 สายพันธุ์ Microbispora sp. 1 สายพันธุ์ และ Streptomyces sp. 1 สายพันธุ์ ที่สามารถสร้างสารยับยั้งได้ทั้งแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2372
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น