กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/235
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพของกรดไขมันจากน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ในการยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรค
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effect of fatty acid from virgin coconut oil against pathogenic microorganisms
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อุมาพร ทาไธสง
วิชมณี ยืนยงพุทธกาล
สิริมา ชินสาร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: กรดไขมัน
น้ำมันมะพร้าว - - การใช้ประโยชน์
น้ำมันมะพร้าว - - การใช้รักษา
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการทดสอบประสิทธิภาพของกรดไขมันที่แยกได้จากน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียจำนวน 6 ชนิด ซึ่งได้แก่ Staphylococcus aureus ATCC 25923, Bacillus subtilis, Bacillus cereus, Escherichia coli, Salmonella spp. และ Shigella spp. จากการทดสอบด้วยวิธี disc diffusion พบว่ากรดไขมัน (ความเข้มข้น 50% v/v ปริมาตร 20 ไมโครลิตร) สามารถยับยั้งการเจริญของ S. aureus ATCC 25923, B. subtilis และ B. cereus โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของ inhibition zone เท่ากับ 10.67 ± 0.50, 9.00 ± 0.00 และ 8.33 ± 0.50 มิลลิเมตร ตามลำดับ เมื่อนำกรดไขมันมาทดสอบมาหาค่าความเข้มข้นต่ำสุด (MIC) ต่อเชื้อทดสอบ ด้วยวิธี agar dilution พบว่าค่า MIC ของกรดไขมันต่อ S. aureus ATCC 25923, B. subtilis และ B. cereus เท่ากับ 0.04% v/v ส่วนค่า MIC ของกรดไขมันต่อ Escherichia coli, Salmonella spp. และ Shigella spp. เท่ากับ >2.5% v/v และจากการทดสอบฤทธิ์ต้าน S. aureus ATCC 25923, B. subtilis และ B. cereus ของกรดไขมันในตัวอย่างอาหาร พบว่า จำนวน S. aureus ลกลงเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับชุดควบคุม ส่วนจำนวน B.subtilis และ B. cereus ในอาหารที่เติมกรดไขมันลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับชุดควบคุม ส่วนการศึกษาคุณภาพทางด้านจุลินทรย์ของอาหารที่มีน้ำมันมะพร้าวเป็นส่วนประกอบ ซึ่งได้แก่ โยเกิร์ตรสธรรมชาติ น้ำสลัดชนิเข้มข้น ไส้กรอกเปรี้ยว และกระเทียม โดยทำการตรวจวิเคราะห์หาจุลินทร์ทั้งหมด (aerobic plate count) โคลิฟอร์ม และ E. coli พบว่า จำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมดในตัวอย่างอาหารที่เติมและไม่เติมน้ำมันมะพร้าวไม่แตกต่างกันและตรวจพบการปนเปื้อนโคลิฟอร์มในตัวอย่างไส้กรอกเปรี้ยวที่เติมและไม่เติมน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (>1100 MPN/ กรัม) ส่วนตัวอย่างอาหารที่นำมาวิเคราะห์ทั้งหมดตรวจไม่พบ E. coli.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/235
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น