กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/234
ชื่อเรื่อง: ศักยภาพชุมชนในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาของชุมชน ในเขตอ่าวนก อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Community participation potential in sustainable coastal resources management under sufficient economics concept : case study of Ao Nok Community, Thamai, Chanthaburi province.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบ็ญจมาศ ไพบูลย์กิจกุล
ชลี ไพบูลย์กิจกุล
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะเทคโนโลยีทางทะเล
คำสำคัญ: ทรัพยากรชายฝั่ง - -ไทย
ทรัพยากรทางทะเล
เศรษฐกิจพอเพียง
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพชุมชนในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาของชุมชนในเขตอำเภออ่าวนก อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี แบ่งการศึกษาออกเป็นหลายประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ 1) ประเด็นความหลากหลายของทรัพยากรทางทะเลบริเวณอ่าวนก (แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ สัตว์หน้าดิน และคุณภาพน้ำ 2) ประเมินสภาพเศรษฐกิจ และสังคมของประชาชนที่ทำอาชีพประมงพื้นบ้าน 3) ประเมินการลงแรงประมง และผลผลิตสัตว์น้ำที่พึงได้ 4) ประเมินการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการจัดการประมงบริเวณอ่าวนก และ 5) ประเมินการนำแนวคิด “เศรษฐกิจพอเพียง” ประยุกต์ใช้กับการจัดการประมงบริเวณอ่าวนก จากการประเมินความหลากหลายของทรัพยากรทางทะเลบริเวณอ่าวนก พบว่า ทั้งแพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ และสัตว์หน้าดิน มีความหลากหลายอยู่ในระดับปานกลาง คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของคุณภาพน้ำชายฝั่งทะเล โดยความหลากหลายในบริเวณนี้จะขึ้นกับฤดูกาลเป็นสำคัญ รวมทั้งการปล่อยน้ำจืดที่มีค่าความกระด้างสูงมาจากหมู่บ้านใกล้เคียงส่งผล จากการศึกษาพบว่าครัวเรือนประมงพื้นบ้านมีสภาพเศรษฐกิจ และสังคมใกล้เคียงกับครัวเรือนประมงพื้นบ้านทั่วไป เช่น มีการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ต่ำ รายได้หลักของครัวเรือนมาจากอาชีพการทำประมง จากการประเมินการตระหนักของชาวประมงพื้นบ้านที่มีต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการประมงบริเวณอ่าวนำ พบว่าอยู่ในระดับเกณฑ์ต่ำ เนื่องจากชาวบ้านบริเวณนี้ไม่มีประสบการณ์ในการรวมกลุ่มเพื่อร่วมกันทำกิจกรรมต่าง ๆ อันจะทำให้อ่าวนกมีทรัพยากรทางทะเลคงอยู่และเพิ่มมากขึ้น การประเมินถึงการทำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการรวมกลุ่มเพื่อการอนุรักษ์อ่าวนก พบว่าชาวประมงพื้นบ้านยังไม่มีความพร้อมในการรวมกลุ่ม ดังนั้นชาวบ้าน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรปรึกษาหารือเพื่อจัดตั้งกลุ่มต่าง ๆ ในการทำกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้เพิ่มมากยิ่งขึ้นบริเวณอ่าวนก
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/234
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2568_018.pdf16.06 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น