กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2323
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ธงชัย ศรีวิริยรัตน์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:14:43Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:14:43Z | |
dc.date.issued | 2550 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2323 | |
dc.description.abstract | การกำจัดธาตุอาหารด้วยน้ำเสียทางวิธีการขีวภาพ เป็นกระบวนการที่นำมาใช้ในการกำจัดธาตุอาหารไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในน้ำเสีย ทำให้สามารถลดปัญหาที่มีต่อคุณภาพแหล่งน้ำ เช่น การเกิดปรากฏการณ์ยูโทรฟิเคชัน ประเด็นหนึ่งที่มีความสำคัญในการพิจารณาเลือกใช้วิธีการดังกล่าว คือ พลังงานที่ต้องใช้ระบบสูงขึ้น อาจสูงถึงร้อยละ 50 ของพลังงานที่ต้องใช้ในระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพทั่วไปที่กำจัดสารอินทรีย์แต่เพียงอย่างเดียว พลังานที่ต้องใช้สูงขึ้นมาจากความต้องการใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้นในกระบวนการไนตริฟิเคชันเพื่อเปลี่ยนแอมโมเนียมไปเป็นไนเตรทไนโตรเจน และพลังงานที่ต้องใช้สำหรับการกวนผสมจุลินทรีย์กับน้ำเสียและการหมุนเวียนสลัดจ์ ภายใต้เงื่อนไขที่ต้องมีการกำจัดธาตุอาหารเพื่อการอนุรักษณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมแล้ว ระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพเพื่อการกำจัดธาตุอาหารนั้นมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าวิธีการบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพร่วมกันกับวิธีทางเคมีหรือฟิสิกส์เคมีในการกำจัดธาตุอาหาร ความเป็นจริงนั้นระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพเพื่อกำจัดธาตุอาหารสามารถอนุรักลักษ์พลังงานได้ส่วนหนึ่ง เพราะสารอินทรีย์ส่วนหนึ่งถูกนำไปใช้ในกระบวนการดีไนตริฟิเคชันของกระบวนการกำจัดฟอสฟอรัสทางชีวภาพ ทำให้สารอิทนรีย์ที่เข้าสู่ระบบเหล่านี้ไม่ถูกนำมาออกซิไดซ์โดยใช้ออกซิเจนในถังเติมอากาศอีก ทำให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานขึ้น นอกจากนั้นระบบกำจัดธาตุอาหารไนโตรเจนทางชีวภาพยังสร้างสภาพต่างให้เกิดขึ้นบางส่วนในระบบด้วย ทำให้สามารถรถปริมาณสารเคมีที่ต้องเติมลงไปในระบบ อีกทั้ง กระบวนการกำจัดธาตุอาหารไนโตรเจนทางชีวภาพ ยังมีปริมาณสลัดจ์ที่ต้องกำจัดในขั้นสุดท้ายน้อยกว่าระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพธรรมดาทั่วไปที่กำจัดสารอินทรีย์แต่เพียงอย่างเดียว ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการกำจัดสลัดจ์ส่วนเกินได้มากขึ้น คำสำคัญ : ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, การกำจัดธาตุทางชีวภาพ, พลังงาน , น้ำเสีย | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.subject | น้ำเสีย - - การบำบัด - - การกำจัดธาตุอาหาร | th_TH |
dc.subject | น้ำเสีย - - การบำบัด - - การกำจัดฟอสฟอรัส | th_TH |
dc.subject | น้ำเสีย - - การบำบัด - - การกำจัดไนโตรเจน | th_TH |
dc.subject | สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา | th_TH |
dc.title | การกำจัดธาตุอาหารทางชีวภาพกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม | th_TH |
dc.type | บทความวารสาร | th_TH |
dc.issue | 2 | |
dc.volume | 37 | |
dc.year | 2550 | |
dc.journal | วารสารสาธารณสุขศาสตร์ = Journal of public health | |
dc.page | 128-137. | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น