กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2319
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorวรากร ทรัพย์วิระปกรณ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:14:43Z
dc.date.available2019-03-25T09:14:43Z
dc.date.issued2550
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2319
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาตามแนวคิดของ ฮัสเซิร์ล (Husserl) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฏการณ์วิถีการดำเนินชีวิตตามประสบการณ์การรับรู้ของเยาวชนในสถานสงเคราะห์ ซึ่งผู้ให้ข้อมูลหลักคือ เยาวชนชายวัยรุ่นในสถานสงเคราะห์ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 2 คน และผู้ให้ข้อมูลเสริมคือ เจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์จำนวน 2 คน และพี่เลี้ยงประจำบ้านอีกจำนวน 1 คน คำถามการวิจัย คือ เยาวชนในสถานสงเคราะห์ให้ความหมายเกี่ยวกับวิถีการดำเนินชีวิตในสถานสงเคราะห์ว่าอย่างไร และเยาวชนมีประสบการณ์การรับรู้ต่อวิถีการดำเนินชีวิตในสถานสงเคราะห์อย่างไร ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และเป็นการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (Informal Interview) นอกจากนี้ผู้วิจัยยังใช้การสังเกตโดยตรง (Direct Observation) ร่วมด้วย วิเคราะห์ข้อมูลตามขั้นตอนของโคไลยซ์ซี่ (Colaizzi) และนำเสนอประสบการณ์ของผู้ให้ข้อมูลในภาพรวม ผลการวิจัยเป็นดังนี้ 1. เยาวชนผู้ให้ข้อมูลรับรู้ความหมายของวิถีการดำเนินชีวิตในสถานสงเคราะห์เยาวชน ประกอบด้วย 3 ประเด็น คือ 1) การดำเนินชีวิตที่เริ่มต้นจาก การพลัดพรากจากครอบครัว 2) การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น และ 3) การอยู่เพื่ออนาคต ซึ่งประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย คือ (1) ภาพฝันในชีวิต และ (2) อนาคตที่วาดหวัง 2. เยาวชนผู้ให้ข้อมูลเล่าถึงประสบการณ์ชีวิตและความทรงจำต่างๆ ที่ตนประสบ ขณะใชัชีวิตอยู่ในสถานสงเคราะห์ โดยแบ่งเป็น 5 ประสบการณ์หลักที่สำคัญคือ 1) ความขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่ 2) การหนีเรียน ไปอยู่วัด 3)เลือดรักสถาบัน 4)หนีเที่ยวกลางคืนและ 5) การตัดสินปัญหาด้วยกำลัง ผลการวิจัยนี้ทำให้เข้าใจถึงความหมายเกี่ยวกับวิถีการดำเนินชีวิตของเยาวชนในสถานสงเคราะห์ตามประสบการณ์การรับรู้ อันจะเป็นแนวทางในการแสวงหากระบวนการ และรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาพฤติกรรมของเยาวชนในสถานสงเคราะห์ ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของเยาวชนอย่างแท้จริงต่อไปth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectการดำเนินชีวิตth_TH
dc.subjectปรากฏการณ์วิทยาth_TH
dc.subjectรูปแบบการดำเนินชีวิตth_TH
dc.subjectสาขาสังคมวิทยาth_TH
dc.subjectเยาวชน - - ชีวิตทางสังคมth_TH
dc.titleวิถีการดำเนินชีวิตของเยาวชนในสถานสงเคราะห์ : การศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยาth_TH
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue1
dc.volume19
dc.year2550
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this qualitative research was to study a phenomenon, according to Hurrerl's theory, about how the youths in a foster home perceived their way of life. The key informants were two youths in the foster home, over 15 years of age and the sub-informants were two social workers and a home caretaker. The research questions were : 1) How the youths in a foster home in terpreted the meaning of their way of life? And 2) How they perceived their way of life as they were in the foster nome? The data were collected by using in-depth interviews, informal interviews, and direct observations. Data were analyzed by Colaizzi's analysis method. The youths described their way of life's meaning along 3 dimensions, 1) their lives begin by leanning their families; 2) they have to live with others; and 3) they have to live for their future, which lives' image and future expectations. The youths described their lives in the foster home, as 5 experiences, which were : 1) conflicting with staff ; 2) cutting classes to live in the temple; 3) passionate loyalty to the in own institution; 4)night roaming ; and 5) using physical to solve problems The results revealed how two youths,living in the foster home perceived their way of life, which assisted us to understand their perceptions to improve their behaviors and to fulfill their needs could be considered.en
dc.journalวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of education
dc.page109-122.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
109-122.PDF15.77 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น