กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2305
ชื่อเรื่อง: | ตัวแปรที่ส่งผลต่อโอกาสในการตอบข้อสอบถูก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Variables affecting on the probability of answering the item correctly |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุรีพร อนุศาสนนันท์ กระพัน ศรีงาน ไพรัตน์ วงษ์นาม สมศักดิ์ ลิลา มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การศึกษา - - แบบทดสอบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาขาการศึกษา แบบทดสอบ |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาเครื่องมือวัด ดังนี้ ระดับนักศึกษา ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ แบบวัดคุณลักษณะของนักเรียน แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ และความวัดความเครียด ระดับโรงเรียน ได้แก่ แบบวัดภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารแบบวัดประสิทธิภาพของการบริหารของผู้บริหาร แบบวัดประสิทธิภาพการสอนของครู และแบบวัดบรรยากาศในชั้นเรียน 2) วิเคราะห์ผลของตัวแปรคุณลักษณะระดับผู้เรียน และตัวแปรคุณลักษณะระดับโรงเรียนต่อโอกาสในการตอบข้อสอบได้ถูกต้องโดยใช้โมเดลเชิงเส้นตรงระดับลดหลั่น (HGLM) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนสังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ จำนวน 2,103 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบสองขั้นตอน ( Two-Stage Random Sampling) เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 2) แบบวัดคุณลักษณะของนักเรียน 3) แบบวัดเจตคติ 4) แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบวัดความเครียด 6) แบบวัดภาวะความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร 7) แบบวัดประสิทธิภาพการสอนของครู 8) แบบวัดประสิทธิภาพการบริหารของผู้บริหาร 9) แบบวัดบรรยากาศในห้องเรียน ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดโดยตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองโมเดลองค์ประกอบแฝง (Nested Factor Model) และตรวจสอบความเชื่อมั่น (Reliability) ด้วยการวิเคราะห์สัมประสิทธ์การสรุปอ้างอิง (G-Coefficient) ผลการวิจัยพบว่า 1.แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ แบบวัดเจตคติ แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความเครียด แบบวัดภาวะความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร แบบวัดประสิทธิภาพการสอนของครู แบบวัดประสิทธิภาพการบริหารของผู้บริหาร แบบสอบถามวัดบรรยากาศในชั้นเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.82, 0.92, 0.91, 0.87, 0.84, 0.89, และ 0.90 ตามลำดับ 2.ผลการวิเคราะห์ตัวแปรที่ส่งผลต่อโอกาสในการตอบข้อสอบถูก พบว่า ตัวแปรขนาดของโรงเรียน (Size) ส่งผลต่อโอกาสการตอบข้อสอบถูกของนักเรียนในแต่ละโรงเรียน แตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่า t = 3.29 หากพิจารณาในส่วนของค่าความชันที่มีความผันแปรจากการวิเคราะห์ในระดับที่ 2 โดยใช้ตัวแปรทำนายในระดับโรงเรียนอธิบายความผันแปร พบว่า ค่าจุดตัดแกนของความชัน ค่าความชันของผลสัมฤทธิ์เดิม (GRAD) มีความผันแปรภายในระดับนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยตัวแปรขนาดโรงเรียน (SIZE) สามารถทำนายความผันแปรของค่าสัมประสิทธิ์ความชันของผลสัมฤทธิ์เดิม (GRAD) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยค่า t = 4.77 ปรากฏดังสมการ 1 ƞ ijm = 0.34 + 0.10SIZE* + 0.07MOTI** - 0.05STRE* + 0.13GRAD**…………(1) + 0.07(GRAD)(SIZE)** + 0.09SPEC* |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2305 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
p26-38.pdf | 4.18 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น