กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2293
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุพจน์ บุญวิเศษ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์en
dc.date.accessioned2019-03-25T09:14:42Z
dc.date.available2019-03-25T09:14:42Z
dc.date.issued2554
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2293
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทของผู้เนื่องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิงแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดชลบุรีแยกตามตัวแปร ตำแหน่ง เพศ และการศึกษา ระยะเวลาการการเป็นผู้นำ และเพื่อศึกษา ปัญหา ข้อเสนอแนะ และแนวทางในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษาจากจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้นำท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรี ประกอบด้วยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 263 คน โดยได้จากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) ผลการวิจัยพบว่า 1. ในภาพรวมผู้นำท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรีมีบทบาทในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรองลงมาคือ ด้านการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการป้องกันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. ผู้นำท้องถิ่นที่มี เพศ ระดับการศึกษา และ ตำแหน่งแตกต่างกัน มีบทบาทของผู้นำท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3. ผู้นำท้องถิ่นที่มีอายุแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.5 โดยพบว่า ผู้นำท้องถิ่นที่มีอายุตั้งแต่ 51 ปี ขึ้นไป มีบทบาทของผู้นำท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสูงกว่า ผู้นำท้องถิ่นที่มีอายุระหว่าง 25 – 30 ปี อายุระหว่าง 31 - 40ปี และ อายุระหว่าง 41-50 ปี 4. ผู้นำท้องถิ่นที่มีเวลาการดำรงตำแหน่งแตกต่างกัน มีบทบาทในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายได้พบว่า มีบางรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 คือ ผู้นำที่มีเวลาดำรงตำแหน่ง 3 วาระ (มากกว่า 8 ปี) มีบทบาทในการจัดการด้านการด้านฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สูงกว่าผู้นำที่มีเวลาดำรงตำแหน่ง 1 วาระ (1-4 ปี) และ 2 วาระ (5-8) ปี ตามลำดับth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ - - ชลบุรีth_TH
dc.subjectการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ - - ชลบุรีth_TH
dc.subjectผู้นำชุมชน - - ชลบุรีth_TH
dc.subjectสาขาสังคมวิทยาth_TH
dc.titleบทบาทของผู้นำท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรีth_TH
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue1
dc.volume11
dc.year2554
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to examine and to compare the local leader roles for managing the Natural Resources and Environments (the NR&E) in the Chonburi provincial region with the following variables: gender, educational level, leadership duration; and to study problems, suggestions, and some approaches for managing the NR&E: All 263 samples of this study as local leaders in the area of Chonburi provincial consisted of chairmen of provincial administrative organizations, chairmen of Tambol municipalities, Mayors of sub-district administrative organizations, heads of sub district (kamnans), and village headmen. The samples was random sampling with the multi-stage random sampling approach. Research results were as follows: 1. Over, local leaders in Chonburi provincial had the roles for managing the NR&E at the high level. When identifying in each item, it was found that both items had highest average as the utilization of the NR&E, respectively. On the contrary, one item was lowest average as prevention of the NR&E. 2. Local leaders, who had the following differences in terms of gender, educational level, and position, had no significantly different on the roles for managing the NR&E as a whole and each item. 3. Local leaders, who had the difference of age, had no significantly different on the roles for managing the NR&E as a whole. But, in term of aging, it was significant at the .05 level. It was also found that local leaders ageing above 50 years old had the roles for recovering the NR&E higher than the local leader groups of 25-30, and 41-50 years old. 4. Local leaders, who had the difference of position, had significantly different on the roles for managing the NR&E as a whole. But, there was one item significant difference at the .05 level in term of the recovering of the NR&E. it was also found that local leader, who occupied position 3 times (More than 8 years), had the roles for recovering the NR&E higher than local leader who occupied at position the first time (1-4 years), and who occupied position 2 times (5-8) respectively.en
dc.journalวารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ = Sripatum Review of Humanities and Social Sciences.
dc.page76-88.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น