กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2290
ชื่อเรื่อง: จิตตปัญญาศึกษา
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิรประภา พฤทธิกุล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: จิตตปัญญาศึกษา
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2553
บทคัดย่อ: จิตตปัญญาศึกษาเป็นรูปแบบหนึ่งของการศึกษาแบบองค์รวม ซึ่งใช้วิธีการที่หลากหลายบนหลักการแห่งการสังเกตภายในตน การมีสติกับปัจจุบันขณะ และการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ จุดมุ่งหมายคือเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความชัดแจ้งทางปัญญาและการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานที่มีต่อตนเองและจิตสำนึกต่อส่วนรวม บทความนี้นำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับความเป็นมา ความหมาย จุดมุ่งหมาย ปรัชญาพื้นฐาน หลักการพื้นฐาน ลักษณะการจัดกระบวนการเรียนรู้ และตัวอย่างรายวิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยตามแนววอลดอร์ฟโดยใช้แนวคิดจิตปัญญาศึกษาเป็นฐาน ผลการนำไปใช้คือ 1) กระบวนการจัดการเรียนรู้เกิดการบูรณาการอย่างสมดุลทั้งทางกาย จิตใจ และปัญญา 2) ผลการเรียนรู้ 3 ด้าน ประกอบด้วย 2.1)ด้านความรู้ พบว่า นิสิตเกิดความเข้าใจในเนื้อหาของรายวิชา และเชื่อมโยงไปสู่การเข้าใจตนเอง เข้าใจเด็ก และการสร้างสรรค์สัมพันธภาพต่อผู้อื่น 2.2) ด้านทักษะ พบว่า นิสิตพัฒนาการมีสติ การน้อมสู่ใจอย่างใคร่ครวญ และการรับรู้รับฟังอย่างลึกซึ้งมากขึ้น 2.3) ด้านเจตคติ พบว่า นิสิตมีความสุขและความกระตือรือร้นในการเรียนรู้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2290
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
1-13.pdf6.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น