กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2285
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorดุสิต ขาวเหลือง
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:14:41Z
dc.date.available2019-03-25T09:14:41Z
dc.date.issued2554
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2285
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานของนิสิตระดับปริญญาตรี 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดระหว่างนิสิตระดับปริญญาตรีที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานกับนิสิตที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดของนิสิตระดับปริญญาตรีที่มีผลการเรียนแตกต่างกัน 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการทำโครงงานระหว่างนิสิตระดับปริญญาตรีที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานกับนิสิตที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ 5) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อกระบวนการทำโครงงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาที่มีผลการเรียนสูงและผลการเรียนต่ำ จำนวน 70 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เลือกห้องที่ผู้วิจัยได้รับมอบหมายให้ทำการสอน กลุ่มทดลองเรียนโดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน และกลุ่มควบคุมเรียนโดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีการทดสอบหลังเรียนด้วยแบบทดสอบวัดระดับทักษะการคิด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และดารวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า 1. คะแนนทักษะการคิดของนิสิตที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานกับนิสิตที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนิสิตกลุ่มที่มีผลการเรียนสูงกับนิสิตที่มีผลการเรียนต่ำมีคะแนนของระดับทักษะการคิดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างวิธีการจัดการเรียนรู้กับระดับผลการเรียน พบว่า วิธีการจัดการเรียนรู้และระดับผลการเรียนร่วมกันส่งผลต่อคะแนนทักษะการคิดของนิสิตระดับปริญญาตรีอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2. คะแนนความสามารถในการทำโครงงานของนิสิตที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานกับนิสิตที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนิสิตกลุ่มที่มีผลการเรียนสูงกับนิสิตกลุ่มที่มีผลการเรียนต่ำมีคะแนนความสามารถในการทำโครงงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectการสอนแบบโครงงานth_TH
dc.subjectกิจกรรมการเรียนการสอนth_TH
dc.subjectทักษะทางการคิดth_TH
dc.subjectสาขาการศึกษาth_TH
dc.titleผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานของนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.title.alternativeResults of project-based intruction with undergraduate students, industrial technology education, Faculty of Education, Burapha Universityen
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue1
dc.volume7
dc.year2554
dc.description.abstractalternativeThe purpose of the study were 1) to study results of project-based instruction with undergraduate students majoring Industrial Technology, Faculty of Education. 2) to compare if there was a difference in thinking skills of undergraduate students studied using Project-based instruction and using conventional teaching method, 3) to compare if there was a difference in thinking skills of undergraduate students who had verying grade point average. 4) to study ability in doing projects of undergraduate students studied using Project-based instruction and using conventional teaching method, and 5) to study opinion on the process work. The samples consisted of 70 undergraduate students from Faculty of Education, Burapha University. Two groups, selected by for methods of teaching. the researcher was assigned to be taught for an experimental group and a control group. An experimental group consisted of high and low grade point average. A control group had also consisted of high and low grade point average. There were 35 students in each group. The experimental group was taught through Project-based instruction. while the control group was taught through conventional method. The experimental group and control group were posttest for thinking skills. The collected data were analyzed by percentage, arithmetic mean. standard deviation, t-test, and ANCOVA. The research findings were summarised as follows : 1. The scores in thinking skills of the experimental group were significantly higher than those of students in the control group at .05 level of significance..In regard to the interaction betwwn method of teaching and level of grade point average, it was found tha the method of teaching and level of student's grade did not significatly differ 2. The secres of ability in doing projects of the experimental group were significatly higher than those of students in the control group at .05 level of significance, and the scores of ability in doing projects of the high grade point average group were significantly higher than those of students in the low grade point average group at .05 level of significance.en
dc.journalวารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม = Journal of Education and Social Development.
dc.page33-46.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
p33-46.pdf4.83 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น