กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/227
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorกล่าวขวัญ ศรีสุขth
dc.contributor.authorเอกรัฐ ศรีสุขth
dc.contributor.authorสิทธิรักษ์ ลอยตระกูลth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:47:20Z
dc.date.available2019-03-25T08:47:20Z
dc.date.issued2554
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/227
dc.description.abstractการอักเสบเป็นปฎิกิริยาการตอบสนองของสิ่งมีชีวิตในการตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมและการบาดเจ็บของเซลล์ที่กระตุ้นให้เกิดอันตรายกับเซล์ ในขณะที่มีการอักเสบนี้แมคโครฝาจมีบทบาทสำคัญในกระบวนการอักเสบและควบคุมการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกัน แมคโครฝาจที่ถูกกระตุ้นด้วย lipopolysaccharide (LPS) จะผลิตสารสื่อกลางการอักเสบต่าง ๆ รวมทั้งไนตริกออกไซด์ (N0) ที่จะช่วยในการต่อต้านการติดเชื้อแบคทีเรีย Ethyl 2-acetyl-3-(4-hydroxy-3-methoxyphenyl) acrylate (EAMA) เป็นอนุพันธ์ของ ferulic acid ชนิดใหม่ที่ถูกสังเคราะห์ขึ้น สามารถลดการผลิตไนตริกออกไซด์ได้ในเซลล์แมคโครฟาจ RAW 264.7 ที่ถูกกระตุ้นด้วย LPS โดยไม่มีผลต่อความมีชีวิตรอดของเซลล์ แต่อย่างไรก็ตามกลการออกฤทธิ์ของสาร EAMA ยังไม่เป็นที่เข้าใจทั้งหมด ดังนั้นเพื่อความเข้าใจการทำงานของสารนี้ ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาโปรไฟล์ของการแสดงออกของโปรตีนในแมคโครฝาจ RAW 264.7 ที่สัมผัสกับ LPS ในสภาวะที่มีและไม่มีสาร EAMA ในช่วงเวลาต่าง ๆ โดยเทคนิค 1-dimensional SDS-PAGE และ nano-LC-MS/MS. พบโปรตีนทั้งหมดถึง 2,429 ชนิด แต่มีเพียง 1,100 ชนิดที่สามารถระบุรายละเอียดโดยโปรแกรม STRAP (Software Tool for Researching Annotations of Proteins) และสามารถแบ่งกลุ่มโปรตีนทั้งหมดนี้ได้เป็น 6 กลุ่มตามตำแหน่งองค์ประกอบภายในเซลล์ดังนี้ 1) นิวเคลียส 2) เยื่อพลาสมา 3) ไซโทพลาซึม 4) เอนโดพลาสมิกเรติ 5) เพอรอกซิโซม ไมโทคอนเดรีย และโครงร่างค้ำจุนเซลล์ และ 6) ไรโบโซม เอนโดโซม และสารประกอบเชิงซ้อนกับสารมหโมเลกุล เมื่อเปรียบเทียบรูปแบบการแสดงออกของโปรตีนในเซลล์แมคโครฝาจโดยโปรแกรม MeV (Multiexperiment viewer) ระหว่างสภาวะที่สัมผัส LPS อย่างเดียว กับสภาวะที่สัมผัส LPS และสาร EAMA พบการแสดงออกของโปรตีน 9 ชนิดที่มีรูปแบบการแสดงออกที่แตกต่าง ได้แก่ โปรตีน apoptosis related protein 3, T25C8.2, espin isoform 1, H2A histone family member V isoform 1, vasopressin-neurophysin 2-copeptin, protocadherin-12, thymidine kinase 1. poly(A)-specific ribonuclease PARN-like domain-containing protein 1-lik และ CDNA sequence BC068157 โปรตีนเหล่านี้เป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับโครงร่างค้ำจุนเซลล์ การเพิ่มจำนวนเซลล์ กระบวนการเอนโดไซโทซิส การตายของเซลล์แบบ apoptosis การส่งสัญญาณ การยึดจับชองเซลล์ และกระบวนการเมแทบอลิซึมของกรดนิวคลีอิก ในขณะที่การเปรียบเทียบโปรไฟล์ของโปรตีนในสภาวะที่สัมผัสสาร EAMA อย่างเดียว กับสภาวะควบคุม พบว่ามีโปรตีน 24 ชนิดที่มีรูปแบบการแสดงออกที่แตกต่างกัน โปรตีนเหล่านี้เป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับโครงร่างค้ำจุนเซลล์ การยึดจับของเซลล์การส่งสัญญาณ การควบคุมการถอดรหัส กระบวนการ rRNA processing การขนส่งกรดอะมิโน (amino acid transport) การตอบสนองของภูมิคุ้มกัน กระบวนการเมแทบอลิซึมของกรดนิวคลีอิก และกระบวนการเมแทบอลิซึมของ GDP-mannose ได้ทำการเลือกโปรตีน 3 ชนิด คือ apoptosis related protein 3, thymidine kinase 1 และ 6-pyruvoyl tetrahydrobiopterin synthase precursor มาทำการวิเคราะห์การแสดงออกของ mRNA โดยเทคนิค qRT-PCR พบว่ามีรูปแบบการแสดงออกที่แตกต่างจากโปรตีน ผลการทดลองที่ได้แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการเปลี่ยนแปลงที่เหมือนหรือแตกต่างกันของการแสดงออกของ mRNA และโปรตีนสะท้อนถึงกลไกการควบคุมที่ซับซ้อนภายในเซลล์แมคโครฝาจที่ตอบสนองต่อ LPS และ EAMAth_TH
dc.description.sponsorshipได้รับเงินอุดหนุนทุนการวิจัยงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) งบประมาณปี 2554.en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectกรดเฟอรูลิกth_TH
dc.subjectการอักเสบth_TH
dc.subjectสารต้านการอักเสบth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัชth_TH
dc.titleการประเมินศักยภาพของอนุพันธ์ ferulic acid ในการเป็นยาต้านอักเสบชนิดใหม่th_TH
dc.title.alternativePotential evaluation of ferulic acid derivatives as novel anti-inflammatory agentsen
dc.typeงานวิจัย
dc.year2554
dc.description.abstractalternativeInflammation is a natural defense of the body to protect against foreign organisim or tissue injury causing harm to the body. During inflammation, macrophages play an important role in inflammation and regulate immune response. Macrophages induced by bacterial lipopolysaccharide (LPS) secreting a large number of inflammatory mediators, such as nitric oxide (NO) to help fighting the bacterial infection. Ethyl 2-acetyl-3-(4-hydroxy-3-methoxyphenyl) acrylate (EAMA), a ferulic acid derivatives, is a novel synthetic compound which has been shown previously to posses an inhibitory effect on NO production in LPS-stimulated macrophages RAW 264.7 without affecting cell viability. But the mechanisms involved are not yet fully understood. To better understand its function, the differentially expressed proteins of the LPS-treated murine macrophage cells response to EAMA was observed by a label-free quantitative proteomic approach. A total of 2,429 peptides were identified using 1-dimensional SDS-PAGE combined with nano-LC-MS/MS. Only 1,100 proteins could be annotated by STRAP (Software Tool for Researchineg Annotations of Proteins) and grouped into 6 categories of molecular function, including (i) binding activity, (ii) catalytic activity, (iii) molecular transducer activity, (iv) regulator activity, (v) structural molecular activity. The proteomics data was further analyzed the protein expression pattern by using Mev (Multiexperiment viewer) program. The MeV (MuliExperiment Viewer) program. The MeV results showed 9 differential expressed protiens of LPS treated cells compared with co-treated with LPS and EAMA cells. They were apoptosis related protein 3, T25C8.2, espin isoform 1, H2A histone family member V isoform 1, vasopressin-neurophysin 2-copeptin, protocadherin-12, thymidine kinase 1. poly(A)-specific ribonuclease PARN-like domain containing protein 1-lik, and CDNA sequence BC068157. There proteins involed in cytoskeleton, cell proliferation, endocytosis, apoptosis, signal transduction, cell adhesion,and nucleic acid metabolic process. While the MeV results showed 24 differential expressed proteins of EAMA treated cells and the control cells. There proteins involved in immune response, nucleic acid metaboloc process, rRNA processing, GDP-mannose metabolic process, cell adhesion, amino acid transport, signal transduction, transcriptioral regulation and cytoskeleton. Three proteins including apoptosis related protein 3, to analyze the mRNA expression by qRT-PCR. In this comparison, mRNA expression pattern of 3 selected proteins changed in different pattern with protein. The results indicated that, the different changes between mRNA and protein expression reflected complex regulatory mechanisms for macrophage response to LPS and EAMA.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น