กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2276
ชื่อเรื่อง: | การจัดทัศนศึกษาเพื่อเรียนรู้แบบบูรณาการ |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อิทธิเดช น้อยไม้ มหาวิทยาลัยบูรพา. โรงเรียนสาธิต "พิบูลบำเพ็ญ" |
คำสำคัญ: | สาขาการศึกษา กิจกรรมการเรียนการสอน ทัศนศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2547 |
บทคัดย่อ: | การศึกษานับเป็นกระบวนการที่สำคัญในการพัฒนามนุษย์ซึ่งเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าและเป็นรากฐานสำคัญ ของการพัฒนาประเทศในปัจจุบันการจัดการศึกษาของประเทศไทยได้ทุ่งเน้นให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ตามสภาพแวดล้อมที่เป็นจริงจากประสบการณ์ของตนเอง โดยผสมผสานความรู้ต่างๆ อย่างสมดุล ดังจะเห็นได้จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งเป็นกฎหมายทางการศึกษาได้กำหนดแนวทางการจัดการศึกษาไว้ในหมวด 4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา 23 และ 24 ซึ่งมีสาระสำคัญพอสรุปได้ว่าการศึกษาในระดับต่างๆ โดยมุ่งเน้นในเรื่องของ ความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการความรู้ต่างๆ ตามความเหมาะสม รวมทั้งจัดกิจกรรมให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง โดยผสมผสานความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนและสมดุลกัน (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542, หน้า 12-13) นอกจากนี้แนวการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544ก็ได้กำหนดให้ผู้สอนจัดการเรียนรู้ สำหรับผู้เรียนโดยเน้นการเรียนรู้ตรงจากประสบการณ์จริงที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ทั้งยังมุ่งเน้นการเรียนรู้ในลักษณะ ของการ บูรณาการสาระความรู้ต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนแบบองค์รวม และสามารถนำความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้น ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ (กรมวิชาการ, 2544 หน้า 21-22) และเมื่อพิจารณาจาก แนวการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานพุทธศักราช 2544 ดังกล่าวแล้วจะพบว่า วิธีการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องและเหมาะสมสำหรับผู้เรียนมากที่สุดอีกวิธีหนึ่ง ก็คือการจัดทัศนศึกษาในรูปแบบของการบูรณาการ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2276 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
1(1-14).pdf | 10.63 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น