กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2262
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาแหล่งน้ำในภาคตะวันออกเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต : การวางรากฐานการชลประทานของไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411-2453) |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Water resource development for quality of life in Eastern region: The original of Thai irrigation in the reign of King Rama V (B.E. 2411-2453) |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การจัดการน้ำ - - ไทย (ภาคตะวันออก) การพัฒนาแหล่งน้ำ - - ไทย (ภาคตะวันออก) คุณภาพชีวิต ชลประทาน - - ไทย สาขาสังคมวิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
บทคัดย่อ: | การพัฒนาแหล่งน้ำเป็นการพัฒนาประเทศประการหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มต้นจากการขยายคลองสายต่างๆให้เชื่อมต่อกับแม่น้ำสายหลัก พร้อมทั้งมีการขุดลอปรับปรุงคลองสายเก่าและขุดคลองสายใหม่เพื่อใช้เป็นเส้นทางคมนาคมระหว่างกรุงเทพกับหัวเมืองใกล้เคียง รวมทั้งใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์และใช้ในชีวิตประจำวันของประชาชนตลอดสองฝั่งคลอง ผลที่ตามมาทำให้เกิดการขยายพื้นที่การเกษตร การขยายตัวของราคาที่ดินบริเวณสองฝั่งคลองสูงขึ้น การเกิดเป็นชุมชนใหญ่และขยายเป็นเมือง ทำให้ราษฏรมีรายได้และมีพื้นที่ในการทำการเกษตรมากขึ้น มีผลผลิตจำหน่ายได้ราคาดี ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น การดำเนินการขยายคลองในขณะนั้นทำอย่างเป็นระบบ มีการจ้างผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศมาทำโครงการและทำการสำรวจสภาพปัญหาแหล่งน้ำ รวมทั้งวางแนวแก้ไขปรับปรุงการใช้น้ำของไทย ต่อมามีการจัดตั้งกรมคลองขึ้นเพื่อรับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องน้ำ และพัฒนาระบบชลประทานแบบใหม่ มีการสร้างเขื่อน ทำนบ และประตูกั้นน้ำขึ้นหลายแห่ง จากนั้นได้พัฒนากำลังคนด้านการศึกษาวิศวกรรมชลประทาน โดยพระราชทานทุนเล่าเรียนให้ไปศึกษาโดยตรงจากต่างประเทศ เพื่อกลับมาพัฒนาชลประทานของไทยตามแบบสากลในเวลาต่อมา ดังนั้น การพัฒนาแหล่งน้ำจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาชลประทานสมัยใหม่ของไทย ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต การพัฒนาสังคมและการพัฒนากำลังคน ด้านการชลประทานเพื่อการพัฒนาประเทศไปพร้อมกัน |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2262 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น