กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2251
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในเทศบาลนครแหลมฉบัง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of a causal model of organizational commitment of officers in Laemchabang city municipality
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีระ กุลสวัสดิ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: การจูงใจในการทำงาน
ความผูกพันต่อองค์การ
ความพอใจในการทำงาน
สาขาเศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2554
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับความผูกพันขององค์กรของบุคลากรเทศบาลนครแหลมฉบัง 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในเทศบาลนครแหลมฉบัง และ 3. เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในเทศบาลแหลมฉบังที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในเทศบาลนครแหลมฉบังจำนวน 340 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความพึงพอใจในการปฏิบัติงานปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงาน การรับรู้บรรยากาศองค์กร และความผูกพันองค์กร เป็นมาตรประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 60 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุโดยใช้โปรแกรม LISREL 8.80 ผลการวิจัยได้ได้ว่า 1. ระดับความผูกพันต่อองค์กรด้านการยอมรับเป้าหมายขององค์กร อยู่ในระดับมาก ด้านความเต็มใจและใช้ความพยายามในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก และด้านความต้องการรักษาความเป็นสมาชิกองค์กรอยู่ในระดับปานกลาง 2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรเทศบาลนครแหลมฉบัง มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดี ค่าไค-สแควร์ ( x2 ) เท่ากับ 60.92 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 47 ค่า x2/df เท่ากับ 1.29 ค่าความน่าจะเป็น (p-value) เท่ากับ .083 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ .975 ดัชนีวัดความกลมกลืนเปรียบเทียบกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ .944 ดัชนีความกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ .997 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองเศษเหลืออยู่ในรูปคะแนนมาตรฐาน (SRMR) เท่ากับ .015 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ .029 ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความผูกพันต่อองค์กรได้ร้อยละ 61 ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในเทศบาลนครแหลมฉบังที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2. บรรยากาศองค์มีอิทธิพลทางตรงต่อความผูกพันต่อองค์กร (DE=.39) 3. ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความผูกพันต่อองค์กรผ่านความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน (IE=.36)
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2251
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
p275-307.pdf314.92 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น