กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2249
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาสภาพชีวิตเด็กด้อยโอกาสที่ถูกทอดทิ้ง : กรณีศึกษาโรงเรียนใจดี จังหวัดลพบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A study of a way of living of disadvantaged children who were nobody caring at Jai-dee school in Lopburi |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมหมาย แจ่มกระจ่าง จารุวรรณ แก่นทรัพย์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | เด็กด้อยโอกาส - - ลพบุรี เด็ก - - การสงเคราะห์ เด็กด้อยโอกาส - - การดำเนินชีวิต เด็กด้อยโอกาส - - การสงเคราะห์ สาขาการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2549 |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา 1) สภาพชีวิตและปัญหาของเด็กด้อยโอกาสที่ถูกทอดทิ้ง 2) วิธีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันของเด็กด้อยโอกาสที่ถูกทอดทิ้ง การช่วยเหลือของโรงเรียนและชุมชน 3)แนวทางการแก้ไขปัญหาเด็กด้อยโอกาสที่ถูกทอดทิ้งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งผู้วิจัยเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสังเกต สัมภาษณ์ การสอบถามการสนทนากลุ่มและการวิเคราะห์ข้อมูลแบบวิเคราะห์เนื้อหา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือเด็กด้อยโอกาสที่ถูกทอดทิ้งได้เข้าเรียนในโรงเรียนใจดี จังกวัด ลพบุรีจำนวน 3 ครอบครัว รวมนักเรียน 9 คน ครู 4 คน ญาติ 3 คน และชุมชน 6 คน ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพชีวิตและปัญหาของเด็กด้อยโอกาสที่ถูกทอดทิ้งคือ 1) มีที่อยู่อาศัยเป็นบ้านที่มีการก่อสร้างมั่นคง บรรยากาศภายในบ้านเงียบเหงา ว้าเหว่ ไม่มีผู้ดูแลและอบรมสั่งสอน ต้องเผชิญชีวิตตามลำพัง 2) การดำเนินชีวิตของเด็กด้อยโอกาสที่ถูกทอดทิ้ง มีการช่วยเหลือตนเองและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในครอบครัวและพยายามดูแลกันเอง มีความรับผิดชอบในภารกิจประจำวันในเรื่องความเป็นอยู่และการเรียนเท่าที่จำเป็น 3) ปัญหาในการดำเนินชีวิตของเด็กด้อยโอกาสที่ถูกทอดทิ้งคือ 1) ขาดความรักและความอบอุ่นในครอบครัว 2) ขาดอาหารและสารอาหาร 3) มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย 4) มีความเสี่ยงต่อการถูกล่วงละเมิดทางเพศ 5) มีความเสี่ยงอันตรายจากกระแสไฟฟ้า 6) มีแนวโน้มในการออกเรียนกลางคัน 2. วิธีการช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสที่ถูกทอดทิ้ง คือ 1) การช่วยเหลือของโรงเรียนคือการประสานผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้นักเรียนมีภูมิคุ้มกันของชีวิต 2) ชุมชนควรมีการประสานความร่วมมือกันระหว่าง วัด โรงเรียนและชุมชน จัดกิจกรรมเสริมสร้างความอบอุ่นให้กับนักเรียนและขยายเครือข่ายความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง เช่นกิจกรรมบ้านน่าอยู่ หนูทำได้ และกิจกรรมครอบครัว/ชุมชนสัมพันธ์ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2249 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
p125-138.pdf | 17.71 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น