กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2211
ชื่อเรื่อง: | เจตคติของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมต่อปัญหาสามีทำร้ายภรรยา |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เอกวิทย์ มณีธร ปกรณ์ มณีปกรณ์ สาธิดา คมขำ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | กระบวนการยุติธรรม ความรุนแรงในครอบครัว สามีและภรรยา สาขาสังคมวิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเจตคติต่อการใช้ความรุนแรงต่อภรรยา สาเหตุ ผลกระทบ แนวทางป้องกันและแก้ไข วิธีการในการเยียวยารักษาเหยื่อที่ได้รับผลกระทบ การศึกษาในครั้งนี้ยังให้ความสนใจกับข้อเสนอแนะของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากบุคลากรในกระบวนยุติธรรม จำนวน 25 คน การศึกษาในครั้งนี้ค้นพบว่า บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมมีเจตคติต่อการใช้ความรุนแรงต่อภรรยา ว่าปัญหาความรุนแรงในครอบครัวมีมานานแล้วและไม่ได้มีการแก้ไขที่ต้นเหตุ ส่วนมากเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุ การที่สามีทำร้ายภรรยาในอดีตถือเป็นเรื่องปกติของการใช้ชีวิตคู่แต่ในปัจจุบันสังคมได้ให้ความสำคัญกับปัญหานี้มากขึ้น พระราชบัญญัติคุ้มครองผุ้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ได้กล่าวถึงอุปนิสัยส่วนตัวของสามีและภรรยาที่มีพื้นฐานลักษณะนิสัยที่แตกต่างกันผู้ชายส่วนใหญ่จะคิดว่าการที่สามีนอกใจภรรยาของตนเองนั้นเป็นเรื่องธรรมดา ปัจจุบันผู้หญิงกับผู้ชายเริ่มมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน จึงทำให้ภรรยานอกใจสามีบ้าง ผลจากความด้อยโอกาสทางสังคม การขาดการศึกษา ภาวะเศรษฐกิจ การเลียนแบบพฤติกรรมการทำร้ายร่างกายจากสื่อคนในสังคมขาดคุณธรรมจริยธรรม ทำให้บุคคลในครอบครัว ถูกทำร้ายร่างกาย สุขภาพจิตเสื่อม ลูกขาดความอบอุ่น การสร้างความรำคาญต่อคนใกล้เคียง จนกลายเป็นปัญหาต่อสังคมและประเทศชาติ การป้องกันและแก้ไขจึงควรเริ่มต้นตั้งแต่ครอบครัว สถานศึกษา และชุมชุนโดยควรมีมีการรณรงค์การลดปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัวโดยการเผยแพร่ทางสื่อต่าง ๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเข้ามาร่วมมือในการแก้ไขปัญหานี้ เช่น จัดกิจกรรมอบรมในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม กฎหมายเบื้องต้น กิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัว และปลูกฝังสร้างจิตสำนึกในการรักครอบครัว นอกจากนี้ควรมีการใช้บทลงโทษทางกฎหมายตาม ความหนักเบาของการกระทำความผิด ให้คำแนะนำในการดำเนินคดี ดำเนินคดีอย่างเป็นธรรม ให้การดูแลค่ารักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพจิตใจ ในส่วนของบุคลากรกระบวนการยุติธรรม ควรประสานความร่วมมือ (ทุกภาคส่วน) ได้แก่ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นกจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ให้เข้ามามีบทบาทในการรณรงค์ป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัวอย่างจริงจัง |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2211 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
p143-172.pdf | 3.53 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น