กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/221
ชื่อเรื่อง: | การป้องกันการกัดกร่อนคอนกรีตเสริมเหล็กในสิ่งแวดล้อมทะเลโดยใช้เถ้าเถ้าแกลบเปลือกไม้ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Utilization of rice husk-bark ash in corrosion protection for reinforced concrete under marine environment |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิเชียร ชาลี มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การกัดกร่อนและการป้องกันการกัดกร่อน คอนกรีตผสมขี้เถ้าลอย คอนกรีตเสริมไม้ ปูนซีเมนต์ - - สารผสมเพิ่ม สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้ศึกษาผลของปริมาณเถ้าแกลบเปลือกไม้ ความละเอียดของเถ้าแกลบเปลือกไม้และอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน ที่มีผลต่อปริมาณของการแทรกซึมของคลอไรด์ และการเกิดสนิมเหล็กภายหลังเผชิญสภาวะแวดล้อทะเล ในสภาวะเปียกสลับแห้ง เป็นเวลา 30 เดือน โดยใช้ส่วนผสมในคอนกรีตที่แทนที่ปูนซีเมนต์ ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 14 ด้วยเถ้าแกลบเปลือกไม้ที่ผ่านการบด (ตะแกรงเบอร์ 325 ร้อยละ) ในอัตราส่วนร้อยละ 15, 25, 35, และ 50 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน เปรียบเทียบกับคอนกรีตควบคุมใช้ปูนซีมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 1 ที่ไม่ผสมเถ้าแกลบเปลือกไม้ และใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.45 และ 0.65 ใช้ตัวอย่างคอนกรีตลูกบาศก์ขนาด 200x200x200 มม. เพื่อฝังเหล็กเส้นกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 มม. ยาว 15 มม. ที่ระยะคอนกรีตหุ้มเหล็กเท่ากับ 10, 20, 50 และ 75 มม. หลังจากบ่มตัวอย่างคอนกรีตในน้ำประปาจนครบ 28 วัน แล้วนำตัวอย่างไปแช่ในสภาวะแวดล้อมทะเลในสภาวะเปียกสลับแห้งในน้ะประปาจนครบ 30 เดือน เพื่อทดสอบหาปริมาณคลอไรด์ทั้งหมด และปริมาณคลอไรดือิสระในคอนกรีต และดูการเกิดสนิมในหล็กเสริมที่ฝังในคอนกรีต ผลการศึกษาบว่า คอนกรีตของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 1 ที่ผสมเถ้าแกลบเปลือกไม้ สมารถต้านทานการซึมผ่านของคลอไรด์ และต้านทานการเกิดสนิมดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ผสมเถ้าแกลบเปลือกไม้ ส่วนผลของอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานที่ต่ำกว่าสามารถต้านทานการแทรกซึมของคลอไรด์ และการเกิดสนิมในคอนกรีตได้ดีกว่าอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานที่สูงกว่าอย่างเห็นได้ชัดเจน นอกจากนี้ยังพบว่า ปริมาณคลอไรด์ที่กักเก็บ มีค่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณการแทนที่เถ้าแกลบเปลือกไม้ในคอนกรีต อย่างไรก็ตาม การแทนที่เถ้าแกลบเปลือกไม้ปริมาณสูงในคอนกรีต (แทนที่ร้อยละ 50) กลับส่งผลให้การกักเก็บคลอไรด์ในคอนกรีตมีค่าลดน้อยลง |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/221 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2567_204.pdf | 5.25 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น