กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2201
ชื่อเรื่อง: คุณภาพชีวิตภายใต้การได้รับสวัสดิการของผู้ต้องขัง กรณีศึกษา: เรือนจำกลางเพชรบุรี
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์
ปกรณ์ มณีปกรณ์
กัญญา อึ้งเจริญวงศ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: คุณภาพชีวิต
นักโทษ - - การสงเคราะห์
สังคมสงเคราะห์
สาขาสังคมวิทยา
เรือนจำกลางเพชรบุรี
วันที่เผยแพร่: 2555
บทคัดย่อ: บทความเรื่อง คุณภาพชีวิตภายใต้การได้รับสวัสดิการของผู้ต้องขัง: กรณีศึกษาเรือนจำกลางเพชรบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการได้รับสวัสดิการและคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังภายใต้การได้รับสวัสดิการตลอดจนศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับสวัสดิการของผู้ต้องขังกับระดับคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังเรือนจำกลางเพชรบุรี การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ต้องขังเรือนจำกลางเพชรบุรี จำนวน 333 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์หาค่าทีเทส (t-Test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – way ANOVA) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่โยวิธีการเชฟเฟ่ (Scheffe) และทดสอบสมมติฐาน โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 88) อายุ 20-30 (ร้อยละ 48.6) ก่อนต้องโทษประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป (ร้อยละ 56.2) ก่อนต้องโทษได้รับการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา (ร้อยละ 46.5) แต่เมื่อเข้ามาอยู่ภายในเรือนจำนั้นไม่ได้รับการศึกษาเพิ่มเติม (ร้อยละ 63.7) มีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด (ร้อยละ 66.7) ระยะเวลาที่ถูคุมขังอยู่ในเรือนจำ 1-3 ปี (ร้อยละ 51.7) และระยะเวลาต้องโทษตามคำพิพากษา 4-7 ปี (ร้อยละ 45.9) เป็นนักโทษชั้นกลาง (ร้อยละ 45.8) ส่วนที่ยังไม่พิพากษาและยังไม่ได้แบ่งชั้น (ร้อยละ 6.9) 2. กลุ่มตัวอย่าง ได้รับสวัสดิการของผู้ต้องขังโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X ̅ = 3.152) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการรักษาพยาบาล ได้รับสวัสดิการอยู่ในระดับมาก (X ̅ = 3.713) รองลงมาคือด้านกีฬาและนันทนาการ ได้รับสวัสดิการอยู่ในระดับปานกลาง (X ̅ = 3.192) ด้านการศึกษาได้รับสวัสดิ์การอยู่ในระดับปานกลาง (X ̅ = 3.017) ด้านสวัสดิการพื้นฐาน (ปัจจัยสี่) ได้รับสวัสดิการอยู่ในระดับปานกลาง (X ̅ = 2.922) และด้านอนามัยผู้ต้องขัง ได้รับสวัสดิการอยู่ในระดับด้วยปานกลาง (X ̅ = 2.905) ตามลำดับ 3. กลุ่มตัวอย่าง ได้รับสวัสดิการของผู้ต้องขังโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X ̅ = 3.209) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านจิตใจอยู่ในละดับปานกลาง (X ̅ = 3.314) รองลงมาคือ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม อยู่ในระดับปานกลาง (X ̅ = 3.305) ด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับปานกลาง (X ̅ = 3.186) และ ด้านร่างกายอยู่ในระดับปานกลาง (X ̅ = 3.032) ตามลำดับ 4. ผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า การได้รับสวัสดิการและคุณภาพชีวิตภายใต้การได้รับสวัสดิการของผู้ต้องขังทั้งโดยภาพรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์กัน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2201
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
309-330.pdf1.74 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น