กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2184
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาอัลกอริธึมโดยใช้คุณสมบัติเชิงแสงของน้ำทะเล เพื่อการประมาณค่าความเค็มบริเวณอ่าวไทยตอนบน
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อนุกูล บูรณประทีปรัตน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: ความเค็ม
คุณสมบัติเชิงแสง
น้ำทะเล
สารอินทรีย์ละลายน้ำ
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2556
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ทำขึ้นเพื่อพัฒนาอัลกอริธึมเพื่อใช้คำนวณค่าความเค็มจากคุณสมบัติเชิงแสงที่เกี่ยวข้องกับสารอินทรีย์ละลายน้ำ (DOM) ในบริเวณอ่าวไทยตอนบน ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้จากการสำรวจคุณภาพน้ำและคุณสมบัติเชิงแสงของน้ำในบริเวณอ่าวไทยตอนบน ระหว่างเดือนตุลาคมและธันวาคมของปี พ.ศ. 2546 และเดือนมกราคม พฤษภาคม และตุลาคมปี พ.ศ. 2547 พบว่าการแพร่กระจาย ในแนวราบของความเค็มและ DOM มีแนวโน้มที่สอดคล้องกัน โดยบริเวณที่มีความเค็มต่ำจะมีปริมาณของ DOM สูง ซึ่งเปลี่ยนแปลงไป ตามฤดูกาลที่เกี่ยวข้องกับลมมรสุมและการไหลเวียนของกระแสน้ำในอ่าว จากการวิเคราะห์การถดถอยของความสัมพันธ์ระหว่างค่า ความเค็มและคุณสมบัติเชิงแสงของน้ำทะเลที่เกี่ยวข้องกับ DOM พบว่าอัลกอริธึมที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้ประมาณค่าความเค็มใน อ่าวไทยตอนบนอยู่ในรูปของฟังก์ชัน S = 3.57 ln (Ra) + 32.73, R2 = 0.49 เมื่อ S คือ ค่าความเค็ม (psu) และ Ra คือ Rrs (412)/Rrs (565) โดยที่ Rrs (412) และ Rrs (565) คือค่าการสะท้อนพลังงานที่ความยาวคลื่น 412 nm และ 565 nm ตามลำดับ ความถูกต้องของการประมาณค่าความเค็มตามความสัมพันธ์นี้เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลขึ้นอยู่กับ อิทธิพลของปริมาณ องค์ประกอบและแหล่งที่มาของ DOM ที่เป็นผลมาจากปริมาณน้ำท่า กิจกรรมของสิ่งมีชีวิตในทะเล และการละลายกลับจากตะกอนที่พื้นทะเล
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2184
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
246-254.pdf1.52 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น