กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/215
ชื่อเรื่อง: การศึกษาเทคโนโลยีเครื่องปั้นดินเผาแหล่งจันทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A Study on Chanthaburi ceramics technology
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภรดี พันธุภากร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: สาขาปรัชญา
เครื่องปั้นดินเผา - - การผลิต
เครื่องปั้นดินเผา
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: โครงการนี้วิจัยเรื่อง “การศึกษาเทคโนโลยีเครื่องปั้นดินเผาแหล่งจันทบุรี” เป็นการศึกษาถึงความเป็นมาเครื่องปั้นดินเผาจังหวัดจันทบุรี เทคโนโลยีกระบวนการผลิต ความสัมพันธ์ เชื่อมโยงกับแหล่งเครื่องปั้นดินเผาอื่น ประเภท และรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏ โดยเน้นการศึกษาภาคสนาม การสังเกต การสัมภาษณ์ จากบุคคลในแหล่งโรงงานจำนวน 7 โรงงาน จากการศึกษาวิจัยทำให้ทราบว่า เครื่องปั้นดินเผาแหล่งจันทบุรีมีการก่อเกิดมามากกว่า 100 ปี โดยเริ่มมาจากกลุ่มช่างปั้นชาวจีนแคะ จากตำบลปังโคย เมืองซัวเถา มณฑลกวางดุ้ง โดยมาทำที่แหล่งบ้านเตาหม้อ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี และเดินทางตามกันมาในหมู่เครือญาติ ทั้งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับ เครื่องปั้นดินเผาราชบุรี และเครื่องปั้นดินเผาปากเกร็ด เครื่องปั้นดินเผาจันทบุรีมีการพัฒนามาเป็นลำดับ จากรุ่นสู่รุ่น ปัจจุบันอยู่ในรุ่นที่ 3 และรุ่นที่ 4 โดยสามารถแบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ออกได้เป็น 4 ประเภท 1.โอ่ง อ่าง กระถาง ขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน ใช้เคลือบดินเลนและขี้เถ้าเผาเตาฟืน อุณหภูมิประมาณ 1200-1230 องศาเซลเซียส 2.กระเบื้องดินเผาและสิ่งประดับสถาปัตยกรรม ขึ้นรูปด้วยเครื่องอัดดิน ใช้เคลือบดินเลนและตะกั่วเผาด้วยเตาแก๊สแบบอัตโนมัติ อุณหภูมิการเผาประมาณ 950 องศาเซลเซียส 3.อิฐก่อสร้างและอิฐประดิษฐ์ขึ้นรูปด้วยเครื่องรีดดิน อัดดิน ไม่มีการเคลือบ เผาด้วยเตาฟืน อุณหภูมิประมาณ 800 องศาเซลเซียส 4.กระถางแดงขึ้นรูปด้วนแป้นหมุน ไม่มีการเคลือบ เผาด้วยเตาฟืน อุณหภูมิประมาณ 800-900 องศาเซลเซียสโดยอาจมีการตกแต่งด้วยสีน้ำมันภายหลัง 5.ถ้วยรองยางขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน ทั้งมีการปรับเปลี่ยนด้วยการขึ้นรูปด้วยเครื่องมากขึ้น ส่วนใหญ่เผาด้วยเตาฟืน ผสมไปกับการเผาโอ่ง อ่าง กระถาง ในอุณหภูมิประมาณ 1200-1230 องศาเซลเซียส เครื่องปั้นดินเผาจันทบุรีทั้ง 7 โรงงานใช้ดินในพื้นที่เขตอำเภอท่าใหม่ และอำเภอนายายอาม คือดินท่าใต้ ดินบ้านสิ้ว ดินหนองสีงา และดินหนองคล้า ใช้เคลือบจากดินเลนวัดท่าลาดและขี้เถ้าเหลือทิ้งจากโรงงานต่างๆ การเผาใช้เตาฟืนขนาดใหญ่ นอกเสียจากกระเบื้องดินเผาและสิ่งประดับสถาปัตยกรรมที่ใช้เตาแก๊สเผาต่อเนื่องแบบระบบอุสาหกรรม และปัจจุบันมีการขยายตัวในการผลิตถ้วยรองยางขึ้นมาก ทำให้มีการสร้างเตาฟืนใหม่ และสั่งซื้อเตาแก๊สเพิ่มเติม
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/215
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2568_063.pdf153.07 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น