กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2128
ชื่อเรื่อง: จรรยาบรรณ : การควบคุมกันเองที่ยังมีปัญหา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Etiquette: A doubtful control
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุกัญญา บูรณเดชาชัย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: จรรยาบรรณนักหนังสือพิมพ์
จรรยาบรรณสื่อมวลชน
จริยธรรม
สื่อมวลชน
สื่อมวลชน - - แง่ศีลธรรมจรรยา
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2549
บทคัดย่อ: จริยธรรมและจรรยาบรรณมีความต่อการทำงานในทุกอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อมวลชน ซึ่งเป็นองค์กรธุรกิจและสถาบันสาธารณะ ผลที่เกิดขึ้นจากการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของสื่อมวลขนที่มีอิทธิพลต่อประชาชนผู้นับสารนานัปการ ทั้งด้านบวกและด้านลบ ดังนั้นการประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ด้วยการใช้สิทธิและเสรีภาพตามหลักการในรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนจึงต้องมีขอบเขต นอกเหนือจากกระบวนการควบคุมทางกฎหมายเป็นมาตรการหนึ่งที่เป็นรูปธรรมอยู่แล้ว สื่อมวลชนเองยังไม่ได้จัดตั้งองค์กรวิชาชีพขึ้นมาควบคุมกันเอง โดยใช้หลักการพื้นฐานแห่งจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพเป็นข้อบังคับสำคัญ เพื่อไม่ให้สื่อมวลชนนำสิทธิและเสรีภาพเหล่านี้ไปละเมิดสิทธิและเสรีภาพผู้อื่น หรืออาจะกล่าวได้ว่าเป็นการละเมิดจริยธรรมวิชาชะของสื่อมวลชนนั่นเอง สภาการหนังสือแห่งชาติเป็นองค์กรหลักควบคุมทางจริยธรรม ที่จัดตั้งขึ้นมาได้เกือบทศวรรษแล้ว และปฏิบัติหน้าที่ตามธรรมนูญสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติหลายประการ แต่การควบคุมกันเองโดยสภาการหนังสือพิมพ์ฯกลับมีข้อกังขาและถูกจับตามองจากประชาสังคมว่า การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนยังตั้งอยู่บนพื้นฐานความละเมิดอยู่บ่อยครั้ง และบทบาทของสภาหนังสือพิมพ์ฯ ในการดำเนินการนั้นเป็นรูปธรรมชัดเจนเพียงพอน่าเชื่อถือหรือไม่ จากข้อมูลการศึกษา ค้นคว้า รวบรวม วิจัย รวมทั้งสถิตการเรียกร้องของสภาการหนังสือพิมพ์ฯเอง เป็นสิ่งหนึ่งที่สนับสนุนสมญานาม “เสือกระดาษ” ของสภากาหนังสือพิมพ์ฯได้เป็นอย่างดี เพราะในแต่ละปีหนังสือพิมพ์ได้ทำหน้าที่ตามหลักการของปรัชญาวิชาชีพจนละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นอยู่เสมอ ตั้งแต่กรณีเล็กๆ ที่ผู้เสียหายไม่ร้องเรียน จนถึงเหตุการณ์ใหญ่โตเช่น “คดีวีซีดีไฮโซ” ก็มีมาแล้ว ดังนั้น การที่จะทำให้หลักการควบคุมกันเองนี้เป็นจริงได้ ทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้ปัญหาอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผู้ประกอบการวิชาชีพ สภาการหนังสือพิมพ์ฯ ประชาชน รวมทั้งสถาบันการศึกษาด้านสื่อมวลชนต้องปลูกฝังจริยธรรมในวิชาชีพให้แก่ผู้ศึกษาเพื่อก้าวสู่ความเป็นผู้ปฏิบัติงานโดยมีจรรยาวิชาชีพต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2128
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
1-20.PDF20.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น