กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/212
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาสถานภาพ ศักยภาพ และความพร้อมในการพัฒนาและดำเนินการสหกิจศึกษาของเครือข่ายการพัฒนาอุดมศึกษาภาคตะวันออก และองค์กรผู้ใช้บัณฑิต |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พัชนี นนทศักดิ์ เกศริน อิ่มเล็ก มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว |
คำสำคัญ: | บัณฑิต - - การจ้างงาน - - ไทย (ภาคตะวันออก) บัณฑิต - - การจ้างงาน บัณฑิต - - การผลิต สหกิจศึกษา สาขาการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2553 |
สำนักพิมพ์: | คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเรื่อง สถานภาพศักยภาพและความพร้อมในการพัฒนาและดำเนินการสหกิจของเครือข่ายการพัฒนาอุดมศึกษาภาคตะวันออกและองค์กรผู้ใช้บัณฑิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณของสถาบันสมาชิกของเครือข่าย 6 สถาบัน (Supply) และองค์กรผู้ใช้บัณฑิต (Demand) ระหว่าง พ.ศ. 2551-2555 และเพื่อวิเคราะห์การประเมินศักยภาพและความพร้อมในการจัดสหกิจศึกษาของสถาบันการศึกษาและองค์กรผู้ใช้บัณฑิต ผลการศึกษาพบข้อมูลดังนี้ ในปี พ.ศ.2551-2552 มี 2 สถาบันการศึกษาที่จัดสหกิจศึกษา โดยพ.ศ.2551 มีคณะทั้งสิ้น 6 คณะ 14 สาขาวิชาและนักศึกษา 422 คน ในปี พ.ศ. 2552 มี 5 คณะ 14 สาขาวิชาและนักศึกษา 558 คน จากการศึกษาคาดว่าใน พ.ศ. 2553-2555 จะมีคณะเข้าร่วมการดำเนินสหกิจศึกษา คือ 5,7 และ 8 คณะ ตามลำดับ ส่วนจำนวนสาขาวิชา 18,21 และ 22 สาขาและจำนวนนักศึกษา 693,893 และ 905 คน ตามลำดับ ในส่วนขององค์กรผู้ใช้บัณฑิต ในปี พ.ศ. 2551 พบว่าองค์กรผู้ใช้บัณฑิตในพื้นที่ภาคตะวันออกมีจำนวน 135 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 58.7 ส่วนองค์กรผู้ใช้บัณฑิตนอกพื้นที่ มีจำนวน 95 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 41.3 ในจำนวนนี้ 74 แห่ง หรือร้อยละ 77.89 เป็นองค์กรผู้ใช้บัณฑิตที่อยู่ในกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2552 จำนวนองค์กรผู้ใช้บัณฑิตในพื้นที่มี 207 แห่งโดยเพิ่มขึ้นจาก พ.ศ. 2551 ร้อยละ 41.69 เมื่อพิจารณาจากอัตราการเจริญเติบโตจากปีที่ผ่านมาคาดว่าใน พ.ศ. 2553-2555 คาดว่าจะมีจำนวนองค์กรผู้ใช้บัณฑิตในพื้นที่ จำนวน 293,416 และ 589 แห่ง ตามลำดับ เมื่อพิจารณาความสมดุลระหว่างจำนวนนักศึกษา (Supply) กับตำแหน่งงานขององค์กรผู้ใช้บัณฑิต (Demand) จากการคำนวณค่าเฉลี่ยการรับนักศึกษา พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2552 เป็นฐานพบว่าอัตราเฉลี่ยการรับนักศึกษาประมาณแห่งละ 2 คน ดังนั้นจำนวนนักศึกษาที่คาดว่าจะเข้าปฏิบัติงานสหกิจได้ในปี 2553, 2554 และ 2555 คือ 584, 830 และ 1,178 คน ตามลำดับ จากผลการวิเคราะห์เพื่อประมินศักยภาพและความพร้อมในการจัดการสหกิจศึกษาขององค์กรผู้ใช้บัณฑิตพบว่ายังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ปัจจัยที่สำคัญคือผู้บริหารระดับสูงของทั้งสถาบันการศึกษาและองค์กรผู้ใช้บัณฑิตยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจน จึงไม่ได้นำสหกิจศึกษากำหนดเป็นนโยบายในการจัดการศึกษาและผู้บริหารองค์กรผู้ใช้บัณฑิตยังไม่เห็นคุณค่าและประโยชน์ของผลงานของนักศึกษาสหกิจศึกษา นอกจากนี้ทั้งคณาจารย์ พี่เลี้ยงในองค์กรผู้ใช้บัณฑิตยังมีความรู้ความเข้าใจระหว่างสหกิจศึกษาไม่ชัดเจน โดยมีข้อเสนอแนะที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษายังคงต้องรณรงค์ให้ความรู้ความเข้าใจมากขึ้นและต่อเนื่อง |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/212 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น