กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2099
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการดื่มสุราของสตรีในเขตอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมาปี 2554
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Alcolhol drinking behavior of women living in amphur Pakthongchai, Nakhonratchasima province in 2011
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรีวรรณ ยอดนิล
ดรุณี คุณวัฒนา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: คนดื่มสุรา
สตรี
สุรา
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2554
บทคัดย่อ: การสำรวจครั้งนี้เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดื่มสุราของสตรีในอำเภอปักธงชัยสำหรับใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ปัญหาการดื่มสุราของสตรีโดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามในกลุ่มสตรีอายุระหว่าง 12 – 65 ปี จากตำบลธงชัยเหนือที่ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 385 ชุด ในระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม 2554 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละ 41.1 ของกลุ่มเป้าหมายอยู่ในวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 20-40 ปี มีอาชีพรับจ้างร้อยละ 36.9 จบชั้นประถมศึกษาร้อยละ 42.3 สถานภาพสมรสคู่ละ 62.9 และร้อยละ 14.5 เป็นหม้าย หย่าร้อยละ 71.1 อยู่กับครอบครัวที่มีจำนวนสมาชิก 4-6 คน สตรีส่วนใหญ่ไม่มีบทบาทใดๆ ในสังคม รายได้เพียงพอร้อยละ 66 มีประสบการณ์ดื่มสุราร้อยละ 42.1 และเริ่มดื่มในกลุ่มอายุ 25 ปีขึ้นไปร้อยละ 42 ส่วนอายุต่ำสุดที่เริ่มดื่มคือ 13 ปี สตรีส่วนมากดื่มเบียร์ร้อยละ 40.7 ดื่มร่วมกับเพื่อนร้อยละ 77.2 มักดื่มที่บ้านตัวเองและบ้านเพื่อน ร้อยละ 33.3 และ 27.8 ตามลำดับ สาเหตุที่ดื่มครั้งแรกเนื่องจากงานสังสรรค์และฉลองในโอกาสสำคัญ ร้อยละ 42.6 และ 25.9 จะดื่มช่วงเย็นถึงค่ำมากที่สุดร้อยละ 81.4 ในปัจจุบันพบว่าสตรียังคงดื่มสุราร้อยละ 77.9 ค่าใช้จ่ายในการดื่มสุราครั้งละไม่เกิน 150 บาทร้อยละ 76.4 เดือนละไม่เกิน 800บาทร้อยละ 74 ร้อยละ 30.7 ดื่มสุรานานกว่า 20 ปี ดื่มไม่เกิน 5 ปี และไม่เกิน 10 ปีร้อยละ 21.3 และ 20.5 ตามลำดับ พฤติกรรมการดื่มอยู่ระดับเสี่ยงและเสี่ยงสูงเท่ากันร้อยละ 45.7 ส่วนระดับติดและอันตรายร้อยละ 7.1 และ 1.6 ตามลำดับ พบว่ามีคนใกล้ชิดทั้งที่อยู่และไม่อยู่ในครอบครัวดื่มสุราร้อยละ 36.9 และ 39.7 ตามลำดับ พฤติกรรมหลังคนในครอบครัวดื่มสุราคือ อารมณ์ดีและสนุกสนานร้อยละ 47.1 ร้านค้าทั่งในและนอกชุมชนเป็นแหล่งที่หาซื้อสุราได้มากที่สุดร้อยละ 79.5 และ 57.7 ตามลำดับ วิธีการเดินทางไปหาซื้อในชุมชนคือเดินร้อยละ 21.8 ส่วนนอกชุมชนจะใช้จักรยานร้อยละ 22.9 ไปหาซื้อเองร้อยละ 26.8 และ สามารถซื้อได้ตลอดเวลาร้อยละ 8.6 การรับรู้ผล กระทบจากการดื่มสุราดีมากร้อยละ 40.0 แต่ค่านิยมของการใช้สุราในชุมชนอยู่ในระดับสูงถึงสูงมากร้อยละ 69.9 สื่อและโฆษณาต่างๆ มีผลต่อความรู้สึกอยากดื่มร้อยละ 55 จะเห็นว่าสตรีที่มีประสบการณ์ดื่มสุราส่วนมากยังคงดื่ม แต่ดื่มอยู่ในระดับความเสี่ยงไม่สูงมากนัก และเมื่อดื่มเป็นเวลานานจะกลายเป็นผู้ติดสุรา ซึ่งใช้สุราเพื่อการฉลองในโอกาสสำคัญและงานสังสรรค์รื่นเริง และยังมีบุคคลใกล้ชิดดื่มสุรา ถึงแม้จะรับรู้ถึงผลกระทบจากการดื่มสุราแต่ก็ยังคงให้คุณค่ากับการใช้สุรามาก อีกทั้งการตลาดของผู้ผลิตทำให้สุราสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย ข้อเสนอแนะจึงจำเป็นต้องสร้างสิ่งทดแทนและค่านิยมในการสร้างสุขแทนการใช้สุรา รวมถึงเพิ่มมาตรการการบังคับใช้กฎหมายควบคุมการจำหน่ายสุราและการโฆษณาอย่างจริงจัง
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2099
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
edusoc7n2_4.pdf2.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น