กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2080
ชื่อเรื่อง: | นโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาจีน: วิกฤตหรือโอกาสทางการศึกษา |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์ วิเชียร ตันศิริมงคล มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การปฏิรูปการศึกษา - - จีน การศึกษา - - จีน การศึกษาขั้นอุดมศึกษา - - จีน นโยบายการศึกษา - - จีน สาขาการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
บทคัดย่อ: | นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 เป็นต้นมา รัฐบาลจีนได้ปฏิรูปการอุดมศึกษาอย่าแท้จริง รัฐบาลและพรรคคอมมิวนิสจีนเชื่อว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมีพื้นฐานสำคัญมาจากการศึกษา ตลอดระยะเวลา 40ปี นโยบายพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษาได้รับการสนับสนุนให้ขยายตัวพร้อมกับการพัฒนาคุณภาพเพื่อให้ก้าวสู่การยอมรับในระดับนานาชาติ ส่งผลให้การอุดมศึกษาของจีนขยายอย่างรวดเร็ว จำนวนมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศจีนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นผลิตบัณฑิตจำนวนมาก สถานบันอุดมศึกษามีความหลากหลายประเภท เกิดความร่วมมือกับสถาบันต่างประเทศ มาตรฐานการศึกษาาของจีนได้รับการยอมรับในแวดววงการศึกษา มหาวิทยาลัยชั้นนำของรัฐจำนวนมากได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำลำดับต้นของโลก งานวิจัยของนักวิจัยจีนจำนวนมากเป็นอันดับสองของโลก อย่างไรก็ตามมีการตั้งข้อสงสัยในแวดวงวิชาการในระดับนานาชาติว่าความสำเร็จของอุดมศึกษาจีนอย่างรวดเร็วนั้นเกิดจากการประเมินผลในเชิงปริมาณ โดยที่ขาดการตรวจสอบด้านคุณภาพของงานด้านอุดมศึกษาและงานวิจัย การพัฒนาคุณภาพในด้านการจัดการเรียนการสอน การสร้างคุณธรรม ความซื่อสัตย์ของนักวิจัย รวมถึงการสร้างธรรมาภิบาล และการให้ความเป็นอิสระในการบริหารงานกับมหาวิทยาลัยให้หลุดพ้นจากการบริหารแบบระบบราชการที่รวมศูนย์ มีการควบคุมสั่งการจากส่วนกลาง ยังคงเป็นปัญหาที่รัฐบาลจีนต้องหันมาให้ความสำคัญมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อที่จะสร้างความน่าเชื่อถือในทางวิชาการต่อประชาคมวิชาการในระดับนานนาชาติในอนาคต |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2080 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
p97-127.pdf | 892.43 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น