กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2076
ชื่อเรื่อง: มาตรการทางกฎหมายเพื่อการควบคุมการใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเป็นธรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรของไทย
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนพัฒน์ เล็กเกียรติขจร
อรรัมภา ไวยมุกข์
เอกพล ทรงประโคน
ศิริศักดิ์ จึงถาวรรณ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: ทรัพย์สินทางปัญญา
พันธุ์พืช - - การคุ้มครอง
เทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร - - ไทย
สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2556
บทคัดย่อ: ภายหลังการค้นพบโครงสร้างสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอในปี ค.ศ.1953 เทคโนโลยีชีวภาพมีบทบาทสำคัญอย่างมากในภาคการเกษตร เนื่องจากสมารถช่วยปรับปรุงพันธุ์สัตว์และพัฒนาพันธุ์พืชให้มีผลผลิตที่มากขึ้นและตอบสนองความต้องการแก่พลเมืองที่ยากจนได้ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้วิจัยและผู้ค้นพบเทคโนโลยีทางชีวภาพนั้น ทรัพย์สินทางปัญญาได้เข้ามามีส่วนในการปกป้องนวัตกรรมหรือการค้นคว้าเหล่านั้น อย่างไรก็ตามทรัพย์สินต่างๆที่เกิดขึ้นจากระบบทรัพย์สินทางปัญญาในเทคโนโลยีทางชีวภาพทางการเกษตรนั้นอาจจะทำให้ผู้ทรงสิทธิใช้สิทธิเด็ดขาดของตนอย่างไม่เป็นธรรมได้ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีข้อยกเว้นของทรัพย์สินทางปัญญาในหลายๆประการเพื่อจำกัดการผูกขาดในสิทธิบัญญัติหรือสิทธิของนักปรับปรุงพันธุ์เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างสิทธิของผู้ทรงสิทธิ ประโยชน์สาธารณะ รวมทั้งคุณค่าของมนุษย์และสังคมด้วยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักสามประการคือ ประการแรกเพื่อศึกษาผลกระทบจากการใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่ไม่เป็นธรรมในด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร ประการที่สอง เพื่อสำรวจมาตรการทางกฎหมายในปัจจุบันของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องรวมถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของมาตรการดังกล่าว และประการสุดท้ายคือ การนำผลการศึกษาที่ได้รับจากงานวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพิจารณาแก้ไขบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการพัฒนาปรับปรุงนโยบายทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาในภาคการเกษตรของประเทศไทยต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2076
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
149-180.pdf3.21 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น