กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2074
ชื่อเรื่อง: | ภาวะอ้วนของวัยรุ่น: ประสบการณ์การป้องกันและควบคุมน้ำหนักเกินของวัยรุ่นและผู้ปกครอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Obesity among adolescents: Preventive and management experiences of adolescents and their parents |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สงวน ธานี อาภรณ์ ดีนาน มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | วัยรุ่น - - สุขภาพและอนามัย โรคอ้วน โรคอ้วน - - การป้องกันและควบคุม สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
บทคัดย่อ: | ภาวะอ้วนในวัยรุ่นส่งผลกระทบทั้งร่างกายและจิตใจต่อวัยรุ่น ครอบครัว และสังคมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งการป้องกันและลดน้ำหนักในวัยรุ่นมีความยุ่งยากซับซ้อน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้เกี่ยวกันภาวะอ้วน วิธีการป้องกัน และการจัดการภาวะอ้วนของวัยรุ่นไทย กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย วัยรุ่นและบิดามารดา จำนวน 6 คู่ และครูแนะแนวประจำโรงเรียน จำนวน 1 ราย ที่อาสาสมัครเข้าร่วมการสนทนากลุ่มหลังเลิกเรียน นานประมาณ 3 ชั่วโมง โดยใช้แนวคำถามแบบกึ่งโครงสร้างในการดำเนินการอภิปรายผลการวิจัยพบว่า วัยรุ่นและผู้ปกครองมีการรับรู้เกี่ยวกับภาวะอ้วนแตกต่างกัน วัยรุ่นให้มุมมองเกี่ยวกับความอ้วนว่า เป็นภาวะปกติ พบเห็นได้ทั่วไป ไม่มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ในมุมมองของผู้ปกครอง ภาวะอ้วนมีความเชื่อมโยงกับข้อมูลทางสุขภาพและประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต สำหรับการจัดการภาวะอ้วนพบว่า ทั้งเด็กและผู้ปกครองไม่ได้ตระหนักหรือมีกิจกรรมเพื่อป้องกันภาวะอ้วน แต่จะเริ่มตระหนักและมีกิจกรรนมควบคุมน้ำหนักเมื่อวัยรุ่นมีลักษณะที่บ่งชี้ภาวะอ้วนเกิดขึ้น การจัดการภาวะอ้วนส่วนใหญ่มักเกิดจากผู้ปกครอง การจัดการภาวะอ้วนจะเน้นที่การมีความรู้และตระหนักเกี่ยวกับภาวะอ้วน การปรับเปลี่ยนรูปแบบการเลี้ยงดู การเป็นตัวแบบ (role model) ที่ดีในการป้องกันและควบคุมน้ำหนัก การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหรและเพิ่มการออกกำลังกายให้แก่วัยรุ่น รวมทั้งการจัดการสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนให้เกิดการควบคุมน้ำหนัก ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรทางด้านสุขภาพ และผู้ที่เกี่ยวข้องควรให้ความรู้อย่างลึกซึ่งแก่วัยรุ่นและผู้ปกครองเกี่ยวกับภาวะอ้วนและผลกระทบของภาวะอ้วน นักวิจัยควรพัฒนาโปรแกรมการป้องกันและควบคุมน้ำหนักเกินสำหรับวัยรุ่น เช่น การให้ความรู้และเพิ่มทักษะการป้องกันและควบคุมภาวะอ้วนแก่ผู้ปกครอง การพัฒนารูปแบบการเลี้ยงดูที่เหมาะสม การสร้างตัวแบบที่ดีแก่วัยรุ่นในการควบคุมน้ำหนัก และการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย เป็นต้น |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2074 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น