กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2061
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorมานพ แจ่มกระจ่าง
dc.contributor.authorวัชระ มั่นถาวรวงศ์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:12:36Z
dc.date.available2019-03-25T09:12:36Z
dc.date.issued2555
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2061
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงาน เปรียบเทียบการดำเนินงานระบบสารสนเทศตามยุทธศาสตร์ที่ 3 ของแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2552-2556 ในสถานศึกษาอาชีวศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา จำแนกตามตำแหน่งการงาน วุฒิการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์และขนาดของสถานศึกษา รวมทั้งศึกษาแนวทางการแก้ไขการดำเนินงานระบบสารสนเทศตามยุทธศาสตร์ที่ 3 ของแผนแม่บทเทคโนโลยีสานสนเทศและการสื่อสารของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2552-2556 ในสถานศึกษาอาชีวศึกษา จังหวัดฮะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในสถานศึกษาอาชีวศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 163 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1. การดำเนินงานระบบสารสนเทศตามยุทธศาสตร์ที่ 3 ของแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2552-2556 ในสถานศึกษาอาชีวศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทราโดยรวมพบว่ามีการดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมาไปหาน้อย คือ ด้านระบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษา ด้านระบบการติดต่อสื่อสารผ่านระบบสารสนเทศ และด้านระบบการให้บริการสาธารณะด้านอาชีวศึกษา 2. การเปรียบเทียบการดำเนินงานระบบสารสนเทศตามยุทธศาสตร์ที่ 3 ของแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2552-2556 ในสถานศึกษาอาชีวศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา จำแนกตามตำแหน่งการงาน วุฒิการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์และขนาดของสถานศึกษา โดยรวม พบว่า ไม่แตกต่าง 3. ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติได้เสนอแนะแนวทางการแก้ไขการดำเนินงานระบบสารสนเทศตามยุทธศาสตร์ที่ 3 ของแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2552-2556 ในสถานศึกษาอาชีวศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นอันดับแรก ในแต่ละด้าน ดังนี้ 3.1 ด้านฮาร์ดแวร์ สถานศึกษาควรมีการวางแผนโครงสร้างระบบสารสนเทศและพัฒนาระบบสารสนเทศให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด เพียงพอต่อการใช้งาน 3.2 ด้านซอฟท์แวร์ สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ต้องพัฒนาซอฟท์แวร์ในการบริหารจัดการระบบสารสนเทศให้เป็นระบบเดียวกันทุกสถานศึกษา 3.3 ด้านบุคลากร สถานศึกษาควรมีการจัดฝึกอบรมการใช้โปรแกรมต่างๆ ตามความเหมาะสมของผู้ใช้แต่ละระดับ ได้แก่ ระดับผู้บริหารและระดับผู้ปฏิบัติการ 3.4 ด้านระบบเครือข่ายสารสนเทศ สถานศึกษาจะต้องมีแผนพัฒนาและปรับปรุงเครือข่ายสารสนเทศให้เพียงพอต่อความต้องการใช้งานth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectการสื่อสารth_TH
dc.subjectระบบสารสนเทศth_TH
dc.subjectสาขาการศึกษาth_TH
dc.subjectอาชีวศึกษาth_TH
dc.titleศึกษาการดำเนินงานระบบสารสนเทศตามยุทธศาสตร์ที่ 3 ของแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2552-2556 ในสถานศึกษาอาชีวศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทราth_TH
dc.title.alternativeStudy of the operation of information system upon strategy III of information and communication technology master plan under the Office of Vocational Education Commission (2009-2013) of Vocational Schoold in Chachoengsao provinceen
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue2
dc.volume8
dc.year2555
dc.description.abstractalternativeThe objective of the research to study the operation and comparison of this information system when strategy III of information and communication technology master plan of the office of vocational education communication (2009-2013).The study was done at schools in Chachoengsao province classified by work position, education background in computer and size of the school. The solution guidelines for better performance of the system was include. The study subjects were the school administrator and staff, totaled 163 persons. The research instrument was a set of 5 level rating scale questionnaire, percentage, mean standard deviation, t-test and one-way ANOVA were used to analyze the data. The findings were as follows: 1. The information system operation of vocational school in Chachoengsao province was found as high level. The average score ranging from high to low were the Vocational Deal management. Communication through the information and vocational education system public service. 2. The comparison of information system performance in schools found no significant difference among work position, computer education background and size of school. 3. The administration and staff had proposed the solution guidelines for better performance of the information system as follow: 3.1 Hardware: The vocational schools should have plan to set up the modern information system and development for high efficiency and sufficiency. 3.2 Software: the office of vocational education commission should have plan to develop the single information system in vocational school. 3.3 Personnel: The vocational school should provide various computer training appropriate for administrations and practitioners. 3.4 Networking system: The schools should have development as well as improvement plan of information system enough to use.en
dc.journalวารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม
dc.page113-124.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
edusoc8n2_9.pdf1.63 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น