กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2054
ชื่อเรื่อง: | ประสบการณ์ของพยาบาลที่ทำหน้าที่คัดกรองผู้บาดเจ็บ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Experiences of trauma triage nurses |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จุฬาลักษณ์ บารมี สุวดี สกุลคู ภัทราภรณ์ สุกาญจนาภรณ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การคัดแยกผู้ป่วย บริการการพยาบาล พยาบาล สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์ของพยาบาลที่ทำหน้าที่ในการคัดกรองผู้บาดเจ็บ ณ หน่วยตรวจโรคอุบัติเหตุโรงพยาบาลที่คัดสรรแห่งหนึ่ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผู้ให้ข้อมูลมีจำนวนทั้งสิ้น 16 คน ได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลที่ได้จากการวิจัยสรุปได้ 4 ประเด็นคือ 1) มุมมองต่อการทำหน้าที่คัดกรองทั้งด้านบวกและด้านลบ มุมมองด้านลบส่วนใหญ่เกิดจากการบริหารจัดการภายในหน่วยงาน ผู้ร่วมงาน และสภาพแวดล้อม ส่วนมุมมองด้านบวกเกิดจากลักษณะงาน 2) มุมมองต่อแนวทางและข้อกำหนดในการคัดกรองผู้บาดเจ็บของหน่วยงาน ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ มีมุมมองต่อแนวทางในการคัดกรองว่ามีความเหมาะสมดีแล้ว ในกรณีที่ไม่สามารถระบุประเภทผู้ป่วยได้แน่ชัดว่าอยู่ในระดับใดซึ่งในแนวทางไม่มีรายละเอียดระบุไว้ ผู้ให้ข้อมูลจึงจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มประเภทที่ไม่มีความรุนแรงมากกว่าเป็นหลัก และเห็นว่าผู้ที่ทำหน้าที่คัดกรองต้องเป็นพยาบาลวิชาชีพ 3) คุณลักษณะของพยาบาลที่ทำหน้าที่คัดกรอง ประกอบด้วย คุณลักษณะด้านความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานและด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล และ 4) การเตรียมความพร้อมและพัฒนาสมรรถนะของผู้ที่ทำหน้าที่คัดกรองอย่างต่อเนื่อง แนวทางในการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ปฏิบัติงานใหม่ควรประกอบด้วย การให้ความรู้ การถ่ายทอดประสบการณ์จากรุ่นพี่ การฝึกหัดในสถานการณ์จำลอง และการทดสอบความรู้ก่อนการปฏิบัติงาน ส่วนการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องควรประกอบด้วย การพัฒนาความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน โดยการจัดอบรมฟื้นฟูและการประชุมปรึกษาหารือโดยผู้ปฏิบัติงานต้องเตรียมตัวและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ นอกจากนี้ ควรต้องมีการประเมินความรู้และทักษะการคัดกรองเป็นระยะๆ และมีการกำกับติดตามผลการปฏิบัติงานเป็นรายบุคล การวิจัยนี้เสนอแนะให้ ผู้บริหารทางการพยาบาลควรจะต้องมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของพยาบาลคัดกรองที่ชัดเจน ควรพิจารณาการจัดอัตรากำลังของบุคลากรให้มีความเหมาะสม มีการวาแผนและจัดระบบการมอบหมายที่ชัดเจน มีการดำเนินการเพื่อส่งเสริมและสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างผู้ปฏิบัติงานอื่นกับพยาบาลคัดกรอง และมีการวางแผนการเตรียมความพร้อมและพัฒนาบุคลากรที่ทำหน้าที่คัดกรองอย่างต่อเนื่อง ประเด็นที่ควรทำวิจัยต่อได้แก่ การพัฒนาแนวทางในการคัดกรองให้เหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน และการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของหน่วยงานและองค์กร |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2054 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
nus21n4p14-24.pdf | 54.31 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น