กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2054
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorจุฬาลักษณ์ บารมี
dc.contributor.authorสุวดี สกุลคู
dc.contributor.authorภัทราภรณ์ สุกาญจนาภรณ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:12:36Z
dc.date.available2019-03-25T09:12:36Z
dc.date.issued2556
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2054
dc.description.abstractการวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์ของพยาบาลที่ทำหน้าที่ในการคัดกรองผู้บาดเจ็บ ณ หน่วยตรวจโรคอุบัติเหตุโรงพยาบาลที่คัดสรรแห่งหนึ่ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผู้ให้ข้อมูลมีจำนวนทั้งสิ้น 16 คน ได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลที่ได้จากการวิจัยสรุปได้ 4 ประเด็นคือ 1) มุมมองต่อการทำหน้าที่คัดกรองทั้งด้านบวกและด้านลบ มุมมองด้านลบส่วนใหญ่เกิดจากการบริหารจัดการภายในหน่วยงาน ผู้ร่วมงาน และสภาพแวดล้อม ส่วนมุมมองด้านบวกเกิดจากลักษณะงาน 2) มุมมองต่อแนวทางและข้อกำหนดในการคัดกรองผู้บาดเจ็บของหน่วยงาน ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ มีมุมมองต่อแนวทางในการคัดกรองว่ามีความเหมาะสมดีแล้ว ในกรณีที่ไม่สามารถระบุประเภทผู้ป่วยได้แน่ชัดว่าอยู่ในระดับใดซึ่งในแนวทางไม่มีรายละเอียดระบุไว้ ผู้ให้ข้อมูลจึงจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มประเภทที่ไม่มีความรุนแรงมากกว่าเป็นหลัก และเห็นว่าผู้ที่ทำหน้าที่คัดกรองต้องเป็นพยาบาลวิชาชีพ 3) คุณลักษณะของพยาบาลที่ทำหน้าที่คัดกรอง ประกอบด้วย คุณลักษณะด้านความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานและด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล และ 4) การเตรียมความพร้อมและพัฒนาสมรรถนะของผู้ที่ทำหน้าที่คัดกรองอย่างต่อเนื่อง แนวทางในการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ปฏิบัติงานใหม่ควรประกอบด้วย การให้ความรู้ การถ่ายทอดประสบการณ์จากรุ่นพี่ การฝึกหัดในสถานการณ์จำลอง และการทดสอบความรู้ก่อนการปฏิบัติงาน ส่วนการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องควรประกอบด้วย การพัฒนาความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน โดยการจัดอบรมฟื้นฟูและการประชุมปรึกษาหารือโดยผู้ปฏิบัติงานต้องเตรียมตัวและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ นอกจากนี้ ควรต้องมีการประเมินความรู้และทักษะการคัดกรองเป็นระยะๆ และมีการกำกับติดตามผลการปฏิบัติงานเป็นรายบุคล การวิจัยนี้เสนอแนะให้ ผู้บริหารทางการพยาบาลควรจะต้องมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของพยาบาลคัดกรองที่ชัดเจน ควรพิจารณาการจัดอัตรากำลังของบุคลากรให้มีความเหมาะสม มีการวาแผนและจัดระบบการมอบหมายที่ชัดเจน มีการดำเนินการเพื่อส่งเสริมและสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างผู้ปฏิบัติงานอื่นกับพยาบาลคัดกรอง และมีการวางแผนการเตรียมความพร้อมและพัฒนาบุคลากรที่ทำหน้าที่คัดกรองอย่างต่อเนื่อง ประเด็นที่ควรทำวิจัยต่อได้แก่ การพัฒนาแนวทางในการคัดกรองให้เหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน และการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของหน่วยงานและองค์กรth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectการคัดแยกผู้ป่วยth_TH
dc.subjectบริการการพยาบาลth_TH
dc.subjectพยาบาลth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleประสบการณ์ของพยาบาลที่ทำหน้าที่คัดกรองผู้บาดเจ็บth_TH
dc.title.alternativeExperiences of trauma triage nursesen
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue4
dc.volume21
dc.year2556
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this qualitative research was to describe the experience of sixteen trauma triage in the selected hospital. The in-depth interview and documented review were used to collect data. The data were analyzed by content analysis method. The finding were 4 themes. First, the perspectives of triage nurses to triage in negative and positive perspectives. Most of the negative perspectives were relate to internal unit management, colleagues and environment of the unit whereas most of the positive perspectives were related to characteristic of triage tasks. Second, the perspective of trauma triage guideline and protocol. Almost all participants though that the existing trauma triage guideline and protocol were appropriate. If any difficult situation was encountered, the over triage was used. Additionally, the responsible person must be the nurse. Third most of participants indicated the important characteristics of triage nurses should consist of knowledge and triage skill, and personal characteristic. Forth, the preparation and competency development of triage nurses. It consisted of guidelines for preparing the novice triage nurses and planning for continuing triage personnel development. Moreover, the organization should evaluate knowledge and skill as well as monitor individual performances of triage continuously. Nursing administrators should clearly indicate duty of triage nurses, reconsider staff pattern and work assignment system, promote the interpersonal relationship of colleagues, and plan the preparation and development for novice triage nurses continuously. The strategies to develop the utility and feasibility triage guideline and protocol, human resource administration were highly recommended for further studyen
dc.journalวารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = The Journal of Faculty of Nursing Burapha University
dc.page14-24.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
nus21n4p14-24.pdf54.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น