กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2044
ชื่อเรื่อง: | ศึกษาองค์ความรู้ศิลปินดนตรีไทยแห่งภาคตะวันออก: ครูสงบ ทองเทศ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A study of Thai classical music artist' s wisdow in Eastern of Thailand : case study of Mr.Sa-ngob Tongtet |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สันติ อุดมศรี มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะดนตรีและการแสดง |
คำสำคัญ: | การวิเคราะห์เพลง ครูระนาดเอก - - ไทย ดนตรีไทย - - ชีวประวัติ เพลงไทยเดิม สาขาปรัชญา |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | ครูสงบ ทองเทศ เกิดปีพุทธศักราช ๒๔๗๙ – ๒๕๖๐ อายุ ๘๑ ปี เป็นศิลปินดนตรีไทยที่มีชื่อเสียงในภาคตะวันออกด้านการบรรเลงระนาดเอกเป็นอย่างดี เติบโตมาจากครอบครัวทางดนตรี เรียนดนตรีครั้งแรกกับนายหย่อน ทองเทศ ผู้เป็นบิดา จากนั้นศึกษาเพิ่มกับครูดนตรีไทยอีกหลายท่าน ได้แก่ ครูแสวง (ไม่ทราบนามสกุล) ครูจำรัส ดำทองสุข ครูจำลอง ราชวัตร ครูประสงค์ พิณพาทย์ ครูชฎิล นักดนตรีและครูเฉลิม บัวทั่ง ในวงปี่พาทย์ ท่านมีเชี่ยวชาญการบรรเลงระนาดเอกเป็นอย่างมาก ศึกษาเรียนรู้เพลง ประเภทมาเป็นอย่างดี ซึ่งเห็นได้จากการถ่ายทอดเพลงเดี่ยวระนาดเอกเพลงพญาโศก สามชั้น จากการศึกษาพบว่าทางเพลงที่ได้สืบทอดองค์ความรู้ให้กับผู้วิจัยและนิสิตสาขาดนตรีไทย คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพานั้นท่านสืบทอดมาจากสำนักดนตรีไทยที่ยิ่งใหญ่ในประเทศไทยที่สุด ได้แก่ที่สำนักพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) แต่ในส่วนทำนองเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงนั้น ท่านได้ศึกษาทางเพลงกับครูศิริและครูชฎิล นักดนตรี ศิลปินที่มีชื่อเสียงในด้านความรู้และความสามารถศิษย์เอกสารนักหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) และได้รับมอบให้อ่านโองการไหว้ครูจากสายสำนักนี้ด้วยโดยมีครูสวิต ทับทิมศรี เป็นผู้ มอบตาราโองการพิธีไหว้ครูให้สืบทอดต่อไป จากการศึกษา พบว่าลักษณะเด่นเฉพาะตนของครูสงบ ทองเทศนั้น เป็นที่ผู้น่าเคารพนับถือ ของนักดนตรีไทยในภาคตะวันออกเป็นอย่างดี เป็นผู้สร้างคุณประโยชน์ให้กับสังคมมากกว่าหวัง ผลตอบแทน ถ่ายวิชาความรู้ทางดนตรีให้กับบุคคลทั่วไป ให้แก่ โรงเรียนดาราสมุทร คณะศึกษาศาสตร์และคณะดนตรีและการแสดงมหาวิทยาลัยบูรพามายาวนานจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งท่านยัง เป็นผู้ที่รักษาสัจจะกับบุคคลทั่วไปเป็นอย่างดีและมีความประพฤติที่เรียบร้อยต่อหน้าและลับหลัง สมควร ถือเป็นครูต้นแบบให้เยาวชนคนดนตรีไทยได้ยึดถือเป็นแบบอย่างต่อไปในอนาคต |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2044 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2562_008.pdf | 5.69 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น