กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2037
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาอาหารเม็ดสาเร็จรูปเพื่อเลี้ยงปูม้า (Portunus pelagicus) โดยพิจารณาจากขนาดและระดับโปรตีน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development on pellet feed for blue swimming crab (Portunus pelagicus) culture in consideration of size and protein level in feed |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บุญรัตน์ ประทุมชาติ สกนธ์ แสงประดับ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ปูม้า -- การเลี้ยง ปูม้า -- อาหาร สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | นำปูม้าอายุ 40 และ 100 วัน ที่ได้จากการเพาะเลี้ยง ขนาดความกว้างของกระดอง 4.1±0.1 และ 5.8±0.2 เซนติเมตร น้าหนักตัว 10.5±0.3 และ 56.5±0.6 กรัม ตามลำดับ มาทดสอบการเลี้ยงในบ่อคอนกรีตขนาด 1 ลูกบาศก์เมตร ความหนาแน่น 30 ตัวต่อตารางเมตร ในความเค็ม 30 ppt ใช้อาหารสาเร็จรูปทรงท่อนความยาว 2.5 มิลลิเมตร และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 มิลลิเมตร และความยาว 4 มิลลิเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.0 มิลลิเมตร สำหรับปูม้าอายุ 40 วัน และอายุ 100 วัน ตามลำดับ ด้วยโปรตีน 4 ระดับ (4 ชุดการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์) ได้แก่ 30%, 35%, 40% และ 45% ให้อาหารวันละ 3 ครั้ง อัตรา 5 % ต่อน้ำหนักตัว ระยะเวลาทดสอบการเลี้ยงนาน 60 วัน ทาการทดลอง 3 ซ้ำ ตรวจสอบจำนวนปูม้าที่ลอกคราบหรือตายทุกวัน และนำปูม้าทุกตัวมาทำการชั่งน้ำหนักและวัดความกว้างของกระดองทุก ๆ 15 วัน นำข้อมูลน้ำหนัก ความกว้างของกระดอง ความถี่ในการลอกคราบ การรอดตาย และอัตราการแลกเนื้อ มาหาความแตกต่างทางสถิติด้วยการวิเคราะห์หาความแปรปรวนแบบแจกแจงทางเดียว (One-way ANOVA) และทำการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยวิธี Duncan’s New multiple range test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % ตรวจสอบคุณภาพน้ำทุก ๆ 5 วัน ได้แก่ พีเอช อัลคาไลนิตี้ อุณหภูมิ ออกซิเจนที่ละลายน้า แอมโมเนีย และ ไนไตรท์ ตลอดการทดลองจากการทดลองพบว่าระดับโปรตีน 40% และ 35% เป็นระดับที่เหมาะสมต่อปูม้าอายุ 40-100 วัน และอายุ 100-160 วัน ตามลำดับ กล่าวคือ การใช้โปรตีน 40% และ 45% ปูม้าอายุ 40-100 วัน มีการเจริญเติบโต (%ขนาดความกว้างของกระดองที่เพิ่มขึ้นและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น) อัตรารอด และอัตราแลกเนื้อไม่แตกต่างกัน (p>0.05) แต่ทั้ง 2 ระดับนี้มีค่าการเจริญเติบโต อัตรารอด สูงกว่าการใช้โปรตีน 35% และ 30% (p<0.05) และปูม้าที่เลี้ยงด้วยอาหารโปรตีน 35% ให้ค่าการเจริญเติบโตสูงกว่า และอัตราแลกเนื้อต่ำกว่าการใช้โปรตีน 30% (p<0.05) การใช้ระดับโปรตีน 35%, 40% และ 45% เลี้ยงปูม้าอายุ 100 วัน มี %ขนาดความกว้างของกระดองและน้าหนักที่เพิ่มขึ้นไม่แตกต่างกัน (p>0.05) แต่ปูม้าที่เลี้ยงด้วยโปรตีนทั้ง 3 ระดับนี้ มีขนาดความกว้างของกระดองและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น อัตรารอด สูงกว่าที่ระดับโปรตีน 30% (p<0.05) อัตราแลกเนื้อของปูม้าที่เลี้ยงอาหารโปรตีน 40% และ 45% มีค่าไม่แตกต่างกัน (p>0.05) แต่ทั้ง 2 ระดับนี้มีค่าต่ำกว่าการใช้โปรตีน 30% (p<0.05) และปูม้าที่เลี้ยงด้วยอาหารโปรตีน 35% มีค่าต่ำกว่าที่การใช้อาหารโปรตีน 30% (p<0.05) แต่ไม่แตกต่างกับการใช้อาหารโปรตีน 40% โดย%ความถี่ของการลอกคราบของทุกชุดทดลองในแต่ละการทดลองไม่แตกต่างกัน (p>0.05) ทั้ง 2 การทดลอง |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2037 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2563_045.pdf | 580.61 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น