กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2023
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ธัชชนก สัตยวินิจ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:10:38Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:10:38Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2023 | |
dc.description.abstract | การศึกษางานวิจัยเรื่อง "อัตลักษณ์และการปรับตัวของนิสิตเวียดนามในมหาวิทยาลัยบูรพา" เป็นการศึกษาค้นคว้าวิจัยในเชิงคุณภาพ การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงอัตลักษณ์ของนิสิตชาวเวียดนามที่ได้รับการอบรมบ่มเพาะมาที่ยังคงอยู่ เเละเพื่อศึกษาวิถีแนวทางการปรับตัวในการดำรงอยู่ของนิสิตเวียดนาม โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลทางเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ทั้งนิสิตชาวเวียดนาม อาจารย์และบุคลากรในมหาวิทยาลัย และมีการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล (Cause-Effect Relationship) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์และกาปรับตัวของนิสิตชาวเวียดนาม ผลการวิจัยพบว่า การดำรงอัตลักษณ์ของนิสิตชาวเวียดนามที่ยังคงอยู่ เนื่องจากการถูกปลูกฝังมาอย่างยาวนาน ทำให้อัตลักษณ์ของลัทธิขงจื้อ ความเป็นชาตินิยม สังคมเวียดนามยังคงอยู่ภายใต้เบื้องหลังความคิดของนิสิต และสื่อออกมาผ่านทางกายภาพ เช่น การแต่งชุดประจำชาติเวียดนาม เป็นต้น นอกจากนี้นิสิตเวียดนามยังมีความเป็นหนึ่งเดียวผ่านการรวมกลุ่มภายใต้อัตลักษณ์ความเป็นชาติเวียดนาม ทำให้กลุ่มสังคมอื่นรับรู้ความเป็นตัวตนของนิสิต การปรับตัวของนิสิตชาวเวียดนาม เพื่อให้สามารถเป็นที่ยอมรับในสังคมไทยและมีการเรียนรู้ความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมของไทย บางกลุ่มมีการปรับตัวที่ดีมีการเรียนรู้สภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย ในขณะเดียวกันนิสิตบางกลุ่มมีการปรับตัวที่ไม่ค่อยยืดหยุ่น เนื่องจากปัจจัยทางครอบครัวและระยะเวลา ซึ่งไม่ได้กระทบต่อการดำเนินชีวิตของนิสิตมากนัก นอกจากนี้การปรับตัวของนิสิตบางอย่างไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความเป็นตัวตนหรืออัตลักษณ์ของนิสิตได้ เเต่นิสิตพร้อมที่จะเรียนรู้ เช่น ความเชื่อทางศาสนา เป็นต้น และจากการวิจัยไม่พบการเกิดการช็อคทางวัฒนธรรม การล้อเลียน หรือดูถูกจากบุคคลอื่น เเต่นิสิตชาวเวียดนามเป็นที่ยอมรับทางสังคมของมหาวิทยาลัย กล่าวโดยสรุป อัตลักษณ์และการปรับตัวของนิสิตชาวเวียดนามป็นวิถีการดำรงชีวิตที่ควบคู่กัน ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ทั้งภายในและภายนอกของนิสิตชาวเวียดนาม นิสิตส่วนใหญ่มีการปรับตัวพร้อมดำรงอยู่ของอัตลักษณ์ความเป็นเวียดนาม | th_TH |
dc.description.sponsorship | สนับสนุนโดยทุนอุดหนุนการวิจัย คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การปรับตัว (จิตวิทยา) | th_TH |
dc.subject | นิสิตเวียดนาม | th_TH |
dc.subject | สาขาสังคมวิทยา | th_TH |
dc.subject | อัตลักษณ์ | th_TH |
dc.title | อัตลักษณ์และการปรับตัวของนิสิตเวียดนามในมหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.title.alternative | Identity and adaptation of vietnamese students in burapha university | th_TH |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | thouchanok@buu.ac.th | |
dc.year | 2560 | |
dc.description.abstractalternative | The research "Identity and Adaptation of Vietnamese Students in Burapha University" is a qualitative research. This research aims to study about identity of Vietnamese Students remained in cultivation, and the way of Vietnamese students adapted living. The method of documentary research was employed both primary and secondary data. The method of in-depth interview also was used in these following key informants: Vietnamese students, lecturer, professor, and personnel in Burapha University. In addition, the data analysis demonstrated a cause-effect relationship for studying identity and adaptation of Vietnamese students. The finding showed that Vietnamese students maintained in their identity because of extensively cultivation, especially identity on Confucianism, Nationalism, and Vietnamese Socialism. These concepts were elucidated their background and physical expression by Vietnamese traditional costumes. Besides, they had a unification under the National identity. Another group also perceived their selves. Moreover, adaptations of Vietnamese students can be accepted by Thai people and Thai society. They also learned different societies and cultures of Thailand. Some groups adapted their salves to learn an environment of university, while other groups of students quite flexible to adaptation because of family factor and period of studies. The factors did not have an effect to existence of Vietnamese students. Although some adaptation cannot change their identity, they were willingly to learn the society such as religion. The research did not find out a shock culture, a parody, and an affront. However, the students were accepted by society in university. Conclusion, the identity and adaptation of Vietnamese students are concurrently living in-side and out-side. Most of them adapted and remained their identity | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น