กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2015
ชื่อเรื่อง: | โครงสร้างจุลกายวิภาคเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียและเพศผู้ ในอวัยวะสืบพันธุ์ของหอยนางรมปากจีบ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Ultrastructure of oogenesis and spermatogenesis in gonad of the Cupped oyster |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุทิน กิ่งทอง มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา หอยนางรม อวัยวะสืบพันธุ์ เซลล์ไข่ |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | วัตถุประสงค์ของศึกษาในครั้งนี้คือศึกษาโครงสร้างจุลกายวิภาคเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียและเพศผู้ในอวัยวะ สืบพันธุ์ของหอยนางรมปากจีบ Saccostrea cucullata โดยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (TEM) ร่วมกับเทคนิคมิญวิทยา ผลการศึกษาพบว่าหอยนางรมมีเพศแยก การสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของเพศผู้และเพศเมีย พบในท่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ (gonadal tubule) ซึ่งอยู่ภายในอวัยวะสืบพันธุ์ (gonad) โดยพบอวัยวะสืบพันธุ์ ทั้งเพศผู้และเพศเมียเชื่อมติดกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ซึ่งมีตําแหน่งอยู่ระหว่างต่อมย่อยอาหารกับแมนเทิล เพศเมีย พบเซลล์ไข่ถายในท่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ เซลล์ไข่ที่กําลังพัฒนาจะอยู่ติดกับฐานของท่อและมีขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องจากมีการสะสมอาหารในไซโทพลาซึมมากขึ้นในรูปของโปรตีนและไขมัน ไข่ที่พัฒนา สมบูรณ์แล้วจะมีการ พัฒนาชั้น envelop คลุมเซลล์ไข่ตลอดทั้งเซลล์ ในหอยนางรมปากจีบไข่ที่พร้อมปฏิสนธิอยู่ในระยะ Primary oocyte และจะเริ่มแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสเมื่อได้รับการผสมกับเซลล์อสุจิ สําหรับในเพศผู้จะพบ Spermatogonium อยู่บริเวณฐานของท่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์และแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสได้เป็นเซลล์ Spermatocyte จากนั้น Spermatocyte จะแบ่งแบบไมโอซิสเพื่อสร้าง Spermatid จากนั้น Spermatid จึง พัฒนาไปเป็น Sperm หรืออสุจิ ตามลําดับ กระบวนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เริ่มจากด้านฐานของท่อเข้าสู่ลูเมน สังเกตจากเซลล์มีขนาดเล็กลง เซลล์อสุจิที่สมบูรณ์จะพบนิวเคลียสที่ส่วนหัว และพบอะโครโซมด้านหน้าสุด พบไมโทคอนเดรียที่คอรวมกันเป็นพูใหญ่ 4-5 อันต่อเซลล์ ด้านหลังจะเป็นส่วนหางแฟลกเจลลัม เซลล์อสุจิที่ สมบูรณ์แล้วจะเคลื่อนตัวมายังกลางลูเมน นอกจากนี้ที่บริเวณฐานของท่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ยังพบเซลล์ Intragonadal somatic cell เป็นลักษณะของเซลล์ร่างกายที่มีนิวเคลียสไม่กลม ซึ่งเซลล์ชนิดนี้อาจทําหน้าที่สาคัญคล้ายกับ Sertoli cell ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ํานม |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2015 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2560_033.pdf | 2.22 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น