กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1999
ชื่อเรื่อง: | การประเมินผลกระทบของโลหะหนักและสารอินทรีย์ไฮโดรคาร์บอนต่อสัตว์ทะเลตามแนวชายฝั่งทะเลอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Assessments of heavy metals and organic hydrocarbons exposure in selected marine animals from coastal industrial area at Map Ta Phut, Rayoung Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปภาศิริ บาร์เนท สุวรรณา ภาณุตระกูล พอจิต นันทนาวัฒน์ นันทพร ภัทรพุทธ นิภา มหารัชพงศ์ ไพฑูรย์ มกกงไผ่ อาวุธ หมั่นหาผล นันทิกา คงเจริญพร Malin Charlotta Celander มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล |
คำสำคัญ: | ปลาทะเล -- การปนเปื้อนของสารพิษ ปลาทะเล -- ผลกระทบจากโลหะหนัก โลหะหนัก -- การวิเคราะห์ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา โลหะหนัก -- ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สัตว์ทะเล -- ผลกระทบจากโลหะหนัก สารอินทรีย์ไฮโดรคาร์บอน หอยแมลงภู่ -- ผลกระทบจากโลหะหนัก |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาการปนเปื้อนของแคดเมียมและสารโพลีไซคลิค อโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน Polycyclic aromatic hydrocarbon (PAHs) ซึ่งเป็นสารประกอบในคราบน้ำมัน ได้ถูกตรวจสอบในปลาทะเลธรรมชาติและหอยแมลงภู่เลีี้ยงในฟาร์มทะเลจากชายฝั่งทะเลอ่างศิลา จังหวัดชลบุรีและนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ระยะทาง 5 กิโลเมตรจากชายฝั่ง รวมทั้งตรวจสอบ การตัวชี้วัดชีวภาพ Cytochrome P450 (CYP1A) และ Metallothionein (MT) บ่งชี้การรับสัมผัสสารต่อสาร PAHs และโลหะหนัก ตามลำดับ ทำการเก็บตัวอย่างเพียงครั้งเดียวปีตลอด 3 ปี (2555 – 2557) รวมทัังศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลและการรับรู้ความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารทะเลของประชาชน หญิงตั้งครรภ์และนักเรียน จากการสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลในการวิเคราะห์ความรู้ ความเข้าใจ และการรับรู้ความเสี่ยงเกี่ยวกับอันตรายจากการปนเปื้อนสารเคมีจากการบริโภคอาหารทะเล ผลการศึกษาปี พ.ศ. 2557 พบว่าปริมาณแคดเมียมทั้งในตับและกล้ามเนื้อปลาทะเลจากอ่างศิลา ค่าเฉลี่ย 0.2960 ± 0.1793 ug/g wet wt. (n=30) สูงกว่า 6 เท่ากว่าจากตับปลาทะเลจับจากมาบตาพุด ค่าเฉลี่ย 0.1859 ± 0.1329 ug/g wet wt. (n=30) และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญด้วยสถิติ ANOVA (p<0.01) ส่วนในเนื้อปลาทะเล อ่างศิลามีค่าแคดเมียมเฉลี่ย 0.0016 ± 0.0022 ug/g wet wt. (n=30) มาบตาพุด ค่าเฉลี่ย 0.0007±0.0.0008 ug/g wet wt. จากอ่างศิลาที่ค่าปริมาณแคดเมียมในตับข้างสูง (>0.2 ถึง ~ 1.0 ug/g wet wt.) ของปลาทะเล 6 ชนิด (ปลาลิ้นหมา ปลาทู ปลาจวด ปลาสีกุน ปลาใบปอปลาไหลทะเล) จากการจับได้ 12 ชนิด ส่วนปลาทะเลจากมาบตาพุดที่ค่าปริมาณแคดเมียมในตับค่อนข้างสูง มีเพียงชนิดเดียวคือ ปลาทู (เฉลี่ย 0.3081±0.0607 ug/g wet wt.) จากการจับได้ทั้งหมด 7 ชนิด ปี พ.ศ. 2557 ปริมาณแคดเมียมในหอยแมลงภู่ บริเวณอ่างศิลาค่าความเข้มข้นของปริมาณแคดเมียมในหอยแมลงภู่ขนาดเล็กมีค่าเฉลี่ย 0.0644 ± 0.0071 ug/g wet wt. (n=20) ใกล้เคียงกับหอยแมลงภู่ขนาดใหญ่มีค่าเฉลี่ย 0.0764 ± 0.0064 ug/g wet wt. (n=20) และมีค่าสูงกว่าบริเวณมาบตาพุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ทั้งในหอยแมลงภู่ขนาดใหญ่ (เฉลี่ย 0.0103±0.0019 ug/g wet wt.) และหอยแมลงภู่ขนาดเล็ก (เฉลี่ย 0.0123 ± 0.0031 ug/g wet wt.) และหอยแมลงภู่จากชายฝั่งจังหวัดเป็นชุดควบคุม พบความเข้มข้นของ แคดเมียมมีค่าเฉลี่ย 0.1171±0.0098 ug/g wet wt. (n=10) ปี พ.ศ. 2557 ความเข้มข้นของ PAHs รวมในตับปลาจากอ่างศิลา มีค่าเฉลี่ย 0.1041±0.1026 ug/g dry wt. (n=30) สูงกว่า 4 เท่า ในกล้ามเนื้อค่าเฉลี่ย 0.0270±0.0519 ug/g dry wt. (n=30) และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญด้วยสถิติ ANOVA (p<0.01) ส่วนมาบตาพุด 3 ความเข้มข้นของ PAHs ในตับปลามีค่าเฉลี่ย 0.0546 ±0.0547 ug/g dry wt. (n=30) สูงกว่า 2.7 เท่า ในกล้ามเนื้อเฉลี่ย 0.0201±0.0278 ug/g dry wt. (n=30) และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) โดยความเข้มข้นในตับปลาจากอ่างศิลา สูงประมาณ 2 เท่า จาก มาบตาพุดและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนความเข้มข้นในกล้ามเนื้อปลาจากทั้งสองสถานีมีค่าใกล้เคียงกัน ปี พ.ศ. 2557 ความเข้มข้นของ PAHs รวม ของหอยแมลงภู่ขนาดใหญ่จากอ่างศิลามีค่าเฉลี่ย 0.0500±0.0194 ug/g dry wt. (n=20) สูงกว่า 2 เท่าในหอยขนาดเล็กมีค่าเฉลี่ย 0.0225±0.0225 ug/g dry wt. (n=30) และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญด้วยสถิติ ANOVA (p<0.01) ส่วนมาบตาพุด ความเข้มข้นของ PAHs ในหอยขนาดใหญ่มีค่าเฉลี่ย 0.1834±0.0567 ug/g dry wt. (n=20) สูงกว่า 13 เท่าในหอยขนาดเล็กค่าเฉลี่ย 0.0142±0.1004 ug/g dry wt. (n=20) และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p<0.01) ความเข้มข้นของ PAHs รวมในหอยแมลงภู่ขนาดใหญ่จากมาบตาพุดมีค่าสูง 3.6 เท่ากว่าจากอ่างศิลา และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญด้วยสถิติ ANOVA (p<0.01) และหอยแมลงภู่จากชายฝั่งจังหวัดเป็นชุดควบคุม ไม่พบความเข้มข้นของ PAHs รวม (n=10) ปี พ.ศ. 2557 ชนิดของ PAHs ที่พบในตับปลาทะเลจากอ่างศิลาและมาบตาพุดมี 4 ชนิด คือ Phenanthrene (PHE), Pyrene (PYR), Fluoranthene (FLA), และ Chrysene (CHR) และพบ Benz[a]anthracene (BaA) ในตับปลาทะเลจากอ่างศิลา ในปลาตัวอย่างเดียวกันทั้งหมดนี้ไม่พบ Chrysene (CHR) สะสมในกล้ามเนื้อ ส่วนหอยแมลงภู่ขนาดใหญ่ทั้งจากอ่างศิลาและมาบตาพุด จะพบเหมือนกัน 3 ชนิดของ PAHs คือ PHE, FLA และ PYR และมาบตาพุดยังพบเพิ่มอีก 3 ชนิด คือ Acenaphthylene (ACY), Acenaphthene (ACE) และ CHR ส่วนหอยแมลงภู่ขนาดเล็ก จากอ่างศิลาพบ 2 ชนิด คือ PHE และ FLA ส่วนจากมาบตาพุด พบได้ 3 ชนิด คือ PYR และ CHR ซึ่ง BaA และ CHR จัดเป็นชนิดที่มีความเป็นไปได้ในการก่อมะเร็งในมนุษย์ การแสดงออกของตัวชี้วัดชีวภาพ อ่างศิลาจากปลาทะเล 12 ชนิด มาบตาพุด จากปลาทะเล 12 ชนิด ด้วยเทคนิคแอนติบอดี พบการแสดงออกของ CYP1A (ขนาด 76/54 kDa) ในปลาทะเล จากอ่างศิลาพบมีผลบวกจานวน 60 % จาก 60 ตัวอย่าง ส่วนมาบตาพุด พบมี 100 % จาก 60 ตัวอย่าง การแสดงออกของ MT (ขนาด 10 kDa) จากอ่างศิลาพบ 33.3 % จาก 60 ตัวอย่าง ส่วนมาบตาพุด พบมี 73.3 % จาก 60 ตัวอย่าง โดยประเภทปลาทะเลชนิดการกินอาหาร (กินเนื้อ กินพืช และกินทั้งพืชและเนื้อ ไม่มีผลนัยยะต่อการแสดงออกของ CYP1A และ MT ปี พ.ศ. 2557 ผลการตรวจการแสดงออกของ CYP1A (56 kDa) ด้วยเทคนิคแอนติบอดี ในหอยแมลงภู่ทั้งอ่างศิลาและมาบตาพุดพบ 100% ทั้งสองสถานี แต่ความเข้มของแบนตัวชี้วัดชีวภาพมีการจับด้วยความเข้มต่างกันในตัวอย่าง โดยอ่างศิลาหอยขนาดทั้งใหญ่และขนาดเล็กมีการจับของ 4 แอนติบอดีกับแอนติเจนความเข้มบาง (+) และความเข้มปานกลาง (++) เท่านั้น ส่วนมาบตาพุดหอยขนาดทั้งใหญ่มีความเข้มปานกลางและเข้มมาก (+++) เท่านั้น และหอยขนาดเล็กมีความเข้มได้ทั้งสามแบบ ส่วนหอยแมลงภู่จากชายฝั่งจังหวัดตราด สามารถพบ CYP1A ได้ทุกตัวอย่าง (n=10) ปี พ.ศ. 2557 ผลศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลและการรับรู้ความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารทะเลของประชาชน สืบเนื่องจากผลการศึกษาวิจัยใน 2 ปีแรก ซึ่งพบว่า หญิงตั้งครรภ์เป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีการรับรู้ความเสี่ยงเกี่ยวกับสารเคมีที่ปนเปื้อนในอาหารทะเลและการบริโภคอาหารทะเลปลอดภัยในระดับน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มเด็กนักเรียน และกลุ่มประชาชนทั่วไปที่พักอาศัยในพื้นที่มาบตาพุด ในปี พ.ศ. 2557 เพื่อศึกษาผลของการให้สุขศึกษาในการส่งเสริมพฤติกรรม การบริโภคอาหารทะเลปลอดภัยในหญิงตั้งครรภ์ที่อาศัยในเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด จ.ระยอง จึงการวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดซา โดยหญิงตั้งครรภ์จะได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งประยุกต์ขึ้นจากแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ (Pender et al, 2011) ประกอบด้วย กิจกรรมใน 2 รูปแบบ ได้แก่ กิจกรรมการให้ความรู้แบบมีส่วนร่วมในรูปแบบหนังสือคู่มือ วิดิทัศน์ และรูปแบบกิจกรรมการกระตุ้นเตือนโดยส่งผ่านข้อความทางโทรศัพท์มือถือ โดยเก็บข้อมูลในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในพื้ันที่มาบตาพุด จ.ระยอง ในช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม 2557 ผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ยประมาณ 26 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมต้นและ ประกอบอาชีพรับจ้าง สัตว์ทะเลที่หญิงตั้งครรภ์นิยมบริโภคในระดับบ่อยครั งถึงเป็นประจา ได้แก่ ปลาทู หมึก กุ้ง ปู และหอยแมลงภู่ ตามลำดับ เกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพต่อการบริโภคอาหารทะเลปลอดภัยของหญิงตั้งครรภ์ ก่อนและหลังการให้สุขศึกษา พบว่า หลังการทดลองหญิงตัังครรภ์มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรคจากการบริโภคอาหารทะเล และการรับรู้ความสามารถตนเองในการบริโภคอาหารทะเลที่มากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p<0.01) ส่วนคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ ความรู้สึกที่มีต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเล พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างก่อนและหลังการทดลองที่ (P = 0.069) ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า หญิงตั้งครรภ์ มีผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในการบริโภคอาหารทะเลโดยรวมเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการให้โปรแกรมสุขศึกษาที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p<0.01) โดยหลังทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 52.80 และก่อนทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 46.97 |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1999 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2560_034.pdf | 16.06 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น