กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1984
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาความพร้อมและการปรับตัวของสาขาบริการโลจิสติกส์ของไทยต่อการเปิดเสรีการค้าบริการ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The study on readiness and adaptation of Thai logistics services for opening free trade in service sectors |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะโลจิสติกส์ |
คำสำคัญ: | การเปิดเสรีการค้า บริการโลจิสกิกส์ สาขาเศรษฐศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา/วิเคราะห์ภาพรวมของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของประเทศไทย รวมทั้งรูปแบบและพฤติกรรมการให้บริการโลจิสติกส์ การลงทุน ปัญหา/อุปสรรค ที่มีอยู่และโอกาสความ เป็นไปได้ในการเปิดเสรีการให้บริการด้านโลจิสติกส์ของไทย ศึกษา/วิเคราะห์วิจัยและประเมินประโยชน์และผลกระทบต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น หากมีการเปิดเสรีการให้บริการด้านโลจิสติกส์ของไทย ศึกษารูปแบบของการ เปิดเสรีของการให้บริการด้านโลจิสติกส์จากประเทศอื่นๆเพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการกำหนดท่าทีและการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์ของไทยโดยเฉพาะบริษัทผู้ให้บริการโลจิสติกส์ของไทย รวมทั้งผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เป็นผู้ใช้บริการโลจิสติกส์ภายในประเทศ และจัดทำข้อเสนอแนะ ขอบเขต การกำหนดท่าทีการจัดทำข้อเรียกร้อง และการดำเนินการในการเปิดเสรีการ ให้บริการด้านโลจิสติกส์ของไทยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มคือผู้ให้บริการโลจิสติกส์ และผู้ใช้บริการโลจิสติกส์ ในแต่ละสาขาบริการโลจิสติกส์ สาขาที่ 1 กลุ่มการขนส่งสินค้า สาขาที่ 2 กลุ่มการจัดเก็บสินค้าและ กระจายสินค้า สาขาที่ 3 กลุ่มการ ขนส่งพัสดุและเอกสาร สาขาที่ 4 กลุ่มการบรรจุภัณฑ์และหีบห่อ สาขาที่5 กลุ่มการให้บริการพิธีการศุลกากร สาขาที่ 6กลุ่มการให้บริการระบบสารสนเทศสำหรับโลจิสติกส์ สาขาที่ 7 กลุ่มตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้า จำนวน 555 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ จำนวน 45 ข้อ ตรวจสอบ คุณภาพวัดโดยตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ด้วยวิธีหาค่าดัชนี ความสอดคล้อง ตรวจสอบความยากและ อำนาจจำแนก ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดกลางและย่อม มีโครงสร้างการบริหารงาน โดยคนไทย มีเพียงส่วนน้อยที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ ในด้านการประเมินขีดความสามารถในการแข่งขันพบว่า ผู้ให้บริการไทยมีความต้องการที่จะได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในปัจจัยของสายสัมพันธ์หรือพันธมิตรทางธุรกิจระดับโลก ระดับของความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโลจิสติกส์และห่วงโซ่ อุปทาน ความพร้อมด้านเงินลงทุน ความพร้อมด้านเทคนิคการบริหารจัดการ ความพร้อมด้านเทคโนโลยี เช่น ซอร์ฟแวร์ ฮาร์ทแวร์และพีเพิลแวร์ และ ความพร้อมด้านเครือข่าย (Networking) ในด้านการประเมินปัญหา และอุปสรรคที่คาดว่าจะพบในการดำเนินธุรกิจภายในประเทศ เมื่อมีการเปิดเสรีการค้าพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่คิดว่าอุตสาหกรรมโลจิสติกส์จะมีการแข่งขัน ที่รุนแรงมาก และอุตสาหกรรมโลจิสติกส์จะมีการตัดราคากันมากขึ้น ในด้านการประเมินปัญหาและอุปสรรคที่ คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการออกไปดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ พบว่าบริษัทผู้ให้บริการส่วนใหญ่คิดว่าประเด็นที่ เกี่ยวกับพิธีการทางศุลกากรน่าจะเกิดขึ้นมากที่สุด ได้แก่ พิกัดภาษีนำเข้า ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ พิธีการทาง ศุลกากรรวมทั้งการประเมินราคาของศุลกากร การขอใบอนุญาตการนำเข้าสินค้า และกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิด ของสินค้านำเข้า การประเมินผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นถ้ามีการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ พบว่า ผู้ ให้บริการส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการเปิดการค้าเสรีสาขาบริการโลจิสติกส์ไม่ได้ประโยชน์และส่งผลกระทบ ในทางลบ เนื่องจากว่าผู้ให้บริการไทยได้ประเมินว่าตนยังมีขีดความสามารถในการแข่งขันในปัจจุบันอยู่ที่ เกณฑ์ต่ำ ไม่สามารถที่จะคงส่วนแบ่งการตลาดในปัจจุบันไว้ได้ Abstract The study’s objective is to study and analyse an overview of Thailand logistics industry, including studying pattern and behavior of logistics services. It also studies problems and barriers and possibility of trade liberalization in logistics service. It also evaluate its costs and benefits if opening trade liberalization. The result will be used to define strategy and adaptation of logistics and transport industry, especially, Thailand logistics service providers. It also provides suggestion and recommendation for negotiating in trade liberalization forum. The study uses logistics service providers (LSPs) and logistics users, as sampling. The LSPs consists of 555 sampling in seven sectors: such as tranportation, storage and distribution, express and parcel, packaging, customs broker, information technology for logistics and freight forwarding companies. The study uses questionnaire and in-depth interview. The questionnaire has 45 items, validity and reliability is conducted. The results show most of sampling are small and medium enterprise (SME) and managed by Thai firms. The small size is large firms. It studies and evaluates performance level and the results show that Thai LSPs need support to enhance competitive advantage, including becoming global alliance, level of logistics knowledge, financial support, technical assistance such as software, hardware and peopleware, including networking. In case of trade liberalisation, most of sampling identify that Thai logistics industry is intense competition and having price war. In evaluating of problems and barriers if operating in foreign countries, it found that most of them state that customs procedure is problematic issue, including issuing import license and country of origin. Evaluating cost and benefit in case of trade liberalisation states that most of them shows that trade liberalization will negative effect to Thai firms. Because of low level of performance and competitiveness. |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1984 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น