กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1976
ชื่อเรื่อง: | การประยุกต์ใช้สมุนไพรไทยเพื่อควบคุมแบคทีเรียก่อโรคในคนและสัตว์น้ำในถุงน้ำเชื้อกุ้งแชบ๊วยที่เก็บรักษาแบบแช่แข็งแบบเทคโนโลยีดั้งเดิมและแบบกล่องโฟม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Application of Thai medicinal plants for controlling human and aquatic animals pathogenic bacteria in Penaeus merguiensis spermatophores cryopreserved by conventional method and styrofoam box |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุบัณฑิต นิ่มรัตน์ วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | กุ้งแชบ๊วย น้ำเชื้อ สมุนไพร สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา แบคทีเรีย |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยเรื่อง การประยุกต์ใช้สมุนไพรไทยเพื่อควบคุมแบคทีเรียก่อโรคในคนและสัตว์น้ำในถุงน้ำเชื้อกุ้งแชบ๊วยที่เก็บรักษาแบบแช่แข็งแบบเทคโนโลยีดั้งเดิมและแบบกล่องโฟม ในปีที่ 1 เป็นการศึกษาถึงการประยุกต์ใช้สารสกัดสมุนไพรที่สกัดด้วยเอทานอล 2 ชนิด ได้แก่ สารสกัดใบมะรุม (Moringa oleifera L.) และสารสกัดจากเหง้าของ (Zingiber officinale Roscore) โดยเปรียบเทียบกับกับสารปฏิชีวนะผสมที่มีประสิทะิภาพ คือ Penicillin-streptomycin ในการเก็บรักษาถุงน้ำเชื้อกุ้งแชบ๊วยแบบแช่แข็งด้วยเครื่องแช่แข็งแบบอัตโนมัติ เป็นระยะเวลา 9 เดือน โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 4 ชุดการทดลอง ได้แก่ 1) เติมสาร Dimethyl sulfoxide (DMSO) ความเข้มข้น 10% (v/v) (ชุดควบคุม) 2) เติมสารปฏิชีวนะ Penicillin-streptomycin ความเข้มข้น 0.1% 3) เติมสารสกัดใบมะรุมความเข้มข้น 0.1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และ 4) เติมสารสกัดขิงความเข้มข้น 0.1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร จากการศึกษาพบว่าสารสกัดใบมะรุมความเข้มข้น 0.1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร มีศักยภาพเหมาะสมในการเก็บรักษาถุงน้ำเชื้อกุ้งแชบ๊วย เนื่องจากสามารถรักษาเปอร์เซ็นต์สเปิร์มที่มีชีวิตของกุ้งแชบ๊วยให้มีคุณภาพดีเยี่ยมตลอดการเก็บรักษาเป็นระยะเวลานาน 9 เดือน โดยมีคุณภาพไม่แตกต่างจากน้ำเชื้อที่เติมยาปฏิชีวนะ Penicillin-streptomysin ความเข้มข้น 0.1% นอกจากนั้นยังสามารถลดปริมาณแบคทีเรียกลุ่มเฉทเทอโรโทรปทั้งหมดด้วยประสิทธิภาพที่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) กับชุดการทดลองที่มีการเติมน้ำยาปฏิชีวนะ Penicillin-streptomycin ความเข้มข้น 0.1% หลังการเก็บรักษาเป็นระยะเวลา 9 เดือน |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1976 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2563_102.pdf | 37.85 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น