กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/196
ชื่อเรื่อง: การใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือทิ้งของอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Utilization of seafood processing waste
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อาภัสรา แสงนาค
กุลยา ลิ้มรุ่งเรืองรัตน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: การใช้ประโยชน์จากน้ำต้มปู - - วิจัย
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
สารแต่งกลิ่นและรสอาหาร - - วิจัย
อุตสาหกรรมอาหารทะเล - - การทดลอง
วันที่เผยแพร่: 2543
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ได้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการย่อยสลายโปรตีนในน้ำต้มปูและเปลือกปูด้วยเอนไซม์แปรปริมาณสารละลายเอนไซม์ Neutrase (0.5 uiit/g) เจือจางอัตราส่วน 1:9 โดยปริมาตร เป็น 1,2 และ 3% โดยปริมาตร และอุณหภูมิที่ใช้แปรเป็น 40, 50 และ 60 C ต่อมาศึกษาผลของ pH และเวลาในการย่อยสลายโปรตีน แปร pH เป็น 5.5,6.5 และ 7.5 แปรเวลาเป็น30 และ 60 นาที พบว่า เมื่อย่อยสลายโปรตีนในน้ำต้มปูและเปลือกปูด้วยสารละลายเอนไซม์ 2% ที่อุณหภูมิ 60 C pH 6.5 เวลา 60 นาที ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีปริมาณอแลฟาอะมิโนไนโตรเจน 2.694 และ 1.342 g/L ตามลำดับ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการย่อยสลายโปรตีนในน้ำต้มปูและเปลือกปูด้วยกรดเกลือ แปรปริมาณกรด HCI 1M เป็น 2,4 และ 6% โดยปริมาตร อุณหภูมิที่ใช้ในการย่อยสลายแปรเป็น 50และ 60 C ต่อมาแปรเวลาที่ใช้ในการย่อยสลายเป็น 1, 2 และ 3 ชั่วโมง พบว่า เมื่อย่อยสลายโปรตีนในน้ำต้มปูและเปลือกปูด้วยกรด HC1 1M 2% และ 4% ตามลำดับ อุณหภูมิ 60 C เวลา 1 และ 2 ชั่วโมง ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีปริมาณแอลฟาอะมิโนไนโตรเจน 1.578 และ 2.0473 g/L ตามลำดับ ศึกษาการทำโปรตีนไฮโดรไลเซทเข้มข้นโดยใช้เครื่อง vacuum rotary evaporator แปรอุณหภูมิเป็น 50 และ 60 C เป็นเวลา 30 นาที พบว่า ที่อุณหภูมิ 60 C ให้ผลิตภัณฑ์ที่มีคะแนนกลิ่นสูงสุด ปริมาณเอนไซม์ไฮโดรไลเซทและแอซิดไฮโดรไลเซทเข้มข้นที่เหมาะสมสำหรับใช้เป็นสารปรุงแต่งกลิ่นรสในข้าวเกรียบคือ 2% โดยน้ำหนัก
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/196
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2568_049.pdf1.99 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น