กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1968
ชื่อเรื่อง: | การประเมินค่าและการทำนายค่ารังสีแสงอาทิตย์เฉลี่ยรายวันในจังหวัด ชลบุรีด้วยตัวแบบข่ายงานระบบประสาท |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Assessment and prediction of daily average solar radiation in Chonburi with neural network model |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กิดาการ สายธนู มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การวิเคราะห์การแบ่งกลุ่ม ตัวแบบข่ายงานระบบประสาท รังสีแสงอาทิตย์ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวัดตัวแปรที่มีประโยชน์หลาย ๆ ตัว ได้แก่ อุณหภูมิสูงสุด อุณหภูมิต่่าสุด ความยาวนานของแสงแดด ความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเล ความชื้นสัมพัทธ์ ความดันไอ และรังสีแสงอาทิตย์ที่จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2548 ถึงปี พ.ศ. 2552 ถูกน่ามาใช้เพื่อประเมินค่าและสร้างตัวแบบข่ายงานระบบประสาทเพื่อทำนายค่ารังสีแสงอาทิตย์เฉลี่ยรายวัน ผลการศึกษารูปแบบรังสีแสงอาทิตย์ของจังหวัดชลบุรีแสดงให้เห็นว่ารังสีแสงอาทิตย์และรังสีแสงอาทิตย์เฉลี่ยมีค่าสูงที่สุดในฤดูร้อน (ตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม) รองลงมาเป็นฤดูฝน (ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม) และฤดูหนาว (ตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์) เมื่อท่าการรวมกลุ่มของวันที่มีค่ารังสีแสงอาทิตย์มากพอที่จะน่าไปใช้ในการพัฒนาศักยภาพของพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยการวิเคราะห์การแบ่งกลุ่มแล้ว จะสามารถจัดกลุ่มวันเหล่านี้ได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 (Cluster 1) เป็นวันที่มีความยาวนานของแสงแดดสั้น (ประมาณ 6 ชั่วโมง) มีอุณหภูมิสูงสุดมากกว่า 35 องศาเซลเซียส มีความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเลประมาณ 1006 พาสคาล และมีความชื้นสัมพัทธ์ต่่ากว่า 70 เปอร์เซนต์ กลุ่มที่ 2 (Cluster 2) เป็นกลุ่มวันที่มีความยาวนานของแสงแดดแปรผันมาก (ระหว่าง 7–11 ชั่วโมง) จึงมีอุณหภูมิสูงสุดอยู่ระหว่าง 34–37 องศาเซลเซียส มีความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเลประมาณ 1007 พาสคาล และมีความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 70 เปอร์เซนต์ ส่วนกลุ่มที่ 3 (Cluster 3) เป็นวันที่มีความยาวนานของแสงแดดมาก (ประมาณ 10 ชั่วโมง) มีอุณหภูมิสูงสุดประมาณ 33 องศาเซลเซียส มีความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเลประมาณ 1008 พาสคาล และมีความชื้นสัมพัทธ์สูงมากกว่า 70 เปอร์เซนต์ ตัวแบบข่ายงานระบบประสาทอย่างง่ายแบบ MLP ที่ประกอบด้วยตัวแปรอินพุท 6 ตัว โหนดของชั้นซ่อนซึ่งมีอยู่เพียงชั้นเดียว จ่านวน 5 โหนด และโหนดของชั้นเอาท์พุท จ่านวน 1 โหนด เป็นตัวแบบข่ายงานระบบประสาทที่มีสมรรถนะดีที่สุดในการท่านายค่ารังสีแสงอาทิตย์เฉลี่ยรายวันในจังหวัดชลบุรี โดยพิจารณาได้จากรากของค่าคลาดเคลื่อนก่าลังสองเฉลี่ยจากข้อมูลสำหรับการตรวจสอบความถูกต้องของตัวแบบมีค่าน้อยที่สุด |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1968 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2563_092.pdf | 1.49 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น