กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1944
ชื่อเรื่อง: การศึกษาการแสดงออกของเปปไทด์ต้านจุลชีพในกุ้งที่ติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัสภายหลังการใช้โปรไบโอติกและสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิดต่าง ๆ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Study on antimicrobial peptides gene expression in infected shrimp, Litopenaeus vannamei with probionts and virus challenge after fed with dietary probiotics and immunostimulants supplementations
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มลฤดี สนธิ
ศรีภาพรรณ ธาระนารถ
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะเทคโนโลยีทางทะเล
คำสำคัญ: กุ้ง
ภูมิคุ้มกัน
ไวรัส
แบคทีเรีย
โปรไบโอติก
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
บทคัดย่อ: การใช้โปรไบโอติกและสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันในการเพาะเลี้ยง ประสบความสำเร็จในการป้องกันและควบคุมโรคสัตว์น้ำ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อติดตามผลของยีสต์เซลล์และจุลินทรีย์โปรไบโอติกจากน้ำหมักสับปะรด และเชื้อเดี่ยว Bacillus subtilis ที่มีต่อการแสดงออกของยีนต้านจุลชีพชนิด Crustin, Penaeudin3 (LitvanPEN3) และ Anti-lypopolysaccharide factor (LvALF1) ในเม็ดเลือดของกุ้งที่เลี้ยงในบ่อดิน 40, 60 และ 90 วัน โดยเทคนิค Quantitative real time PCR จากผลการทดลอง พบว่า กุ้งที่ได้รับอาหารผสมเซลล์ยีสต์ โปรไบโอติกจากน้ำหนัก และเชื้อเดี่ยว Bacillus subtilis มีการแสดงออกของยีน Crustin และ LitvanPEN 3 (Up-regulation) ตลอดช่วงเวลาของการทดลอง สำหรับยีน LvALF1 ไม่มีการแสดงออกในกุ้งทดลอง (Down regulation) จากการทดลองนี้เสนอแนะได้ว่าการใช้สารกระตุ้นภูมิคุ่มกันในระดับฟาร์ม 1 มื้อ/ สัปดาห์ ให้ผลการแสดงออกของแอนติไมโครเบียลที่ไม่ชัดเจน เนื่องจากไม่มีความแตกต่างจากกลุ่มควบคุม แต่พบว่ากุ้งที่ได้รับสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันและแบคทีเรียโปรไบโอติกมีความต้านทานเชื้อได้ดีกว่ากุ้งในบ่อควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1944
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2564_148.pdf4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น