กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1940
ชื่อเรื่อง: การแช่แข็งน้ำเชื้อปลาไนเพื่อการจัดตั้งธนาคารน้ำเชื้อ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Sperm cryopreservation of common carp (Cyprinus carpio) for setting up of sperm bank
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
สุบัณฑิต นิ่มรัตน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: ธนาคารน้ำเชื้อ
น้ำเชื้อ
ปลาไน
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยเรื่อง การแช่แข็งน้ำเชื้อปลาไนเพื่อการจัดตั้งธนาคารน้ำเชื้อ ได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสเปิร์มปลาไน ผลของสารไครโอโพรเทคแทนท์ต่อการเคลื่อนที่ของสเปิร์มปลาไน ผลของอัตราการลดอุณหภูมิที่มีต่อการเคลื่อนที่ของสเปิร์มปลาไนที่ผ่านการแช่แข็ง โดยในการทดลองศึกษาคุณภาพสเปิร์มได้นำพ่อพันธุ์ปลาไนมาตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสเปิร์มเดือนละครั้งในช่วงฤดูผสมพันธุ์วางไข่ การศึกษาผลของสารไครโอโพรเทคแทนท์ต่อการเคลื่อนที่ของสเปิร์มปลาไน โดยการรวบรวมน้ำเชื้อออกจากพ่อพันธุ์ปลาไนมาเจือจางในสารละลายไครโอโพรเทคแทนท์ชนิดต่าง ๆ 9 ชนิด (dimethyl sulfoxide; DMSO, ethylene glycol, propylene glycerol, acetamide, sucrose, glycerol, formamide, ethanol และ methanol) ที่ 4 ระดับความเข้มข้น (5, 10, 15 และ 20%) เป็นระยะเวลาต่าง ๆ กัน (10-180 นาที) แล้วประเมินเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนที่ของสเปิร์มที่ระยะเวลาต่าง ๆ กัน และการศึกษาผลของอัตราการลดอุณหภูมิที่มีต่อการเคลื่อนที่ของสเปิร์มปลาไนผ่านการแช่แข็ง ทำโดยนำน้ำเชื้อจากพ่อพันธุ์ปลาไนมาใส่ในสารไครโอโพรเทคแทนท์แล้วนำไปลดอุณหภูมิด้วยอัตราการลดอุณหภูมิรูปแบบต่างกันแล้วนำไปเก็บรักษาในไนโตรเจนเหลวและประเมินการเคลื่อนที่ของสเปิร์มหลังการละลาย ผลการศึกษาพบว่าคุณภาพสเปิร์มของน้ำเชื้อสดที่รวบรวมออกมาจากปลาไนมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงฤดูผสมพันธุ์วางไข่ โดยความหนาแน่นของสเปิร์มมีค่าสูงขึ้นในช่วงปลายฤดูผสมพันธุ์วางไข่ และความเป็นพิษของสารไครโอโพรเทคแทนท์ที่มีต่อการเคลื่อนที่ของสเปิร์มปลาไนขึ้นอยู่กับ ชนิดและระดับความเข้มข้นของสารไครโอโพรเทคแทนท์ รวมทั้งระยะเวลาที่สเปิร์มเจือจางอยู่ในสารละลายไครโอโพรเทคแทนท์ สารไครโอโพรเทคแทนท์ที่มีความเป็นพิษต่ำต่อสเปิร์มปลาไน ได้แก่ DMSO, ethylene glycol, propylene glycol, sucrose, ethanol และ methanol น้้าเชื้อปลาไนที่แช่แข็งด้วยการใช้ DMSO ให้ผลการเคลื่อนที่ของสเปิร์มหลังการละลายดีที่สุดมีค่าสูงประมาณ 80% ซึ่งจ้าเป็นต้องมีการพัฒนาวิธีการแช่แข็งและเก็บรักษาน้ำเชื้อปลาไนต่อไป เพื่อให้สามารถเก็บรักษาน้ำเชื้อให้ได้ในระยะเวลาที่นานขึ้น
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1940
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2560_074.pdf1.33 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น