กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1938
ชื่อเรื่อง: การพัฒนานวัตกรรมชุดตรวจสอบวิเคราะห์เชื้ออีโคไล/ คอลิฟอร์ม และอีโคไล 0157:H7 ที่ก่อให้เกิดโรคทางเดินอาหารที่สามารถวิเคราะห์ตัวอย่างจำนวนมากในเวลาอันสั้น สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารส่งออกของประเทศ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of high throughput and rapid detection kits for E. coli/ coliform and E. coli 0157: H7 to assure pathogen-free in Thailand export food products
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อาณัติ ดีพัฒนา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: คอลิฟอร์ม
โรคทางเดินอาหาร
เชื้ออีโคไล
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอต้นแบบที่มีประสิทธิภาพในการตรวจวิเคราะห์จุลินทรีย์ E. coli/ coliform และ E. coli O157:H7 ในตัวอย่างผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยใช้เทคโนโลยีการเพาะเชื้อระดับจุลภาพ (micro inoculation culture) ซึ่งมีกล้องดิจิตอลกำลังขยายสูง (digital microscope) สำหรับเร่งการตรวจพบโคโลนี เทคโนโลยี การเพาะเชื้อระดับจุลภาคเป็นการใช้ 96-well U-bottomed polyproylene plate ที่ได้ถูกพัฒนาจากเทคนิคการ spread plate โดยเป้นการปรับเปลี่ยนวิธีการวิเคราะห์ของผิวหน้าเทคนิค spread plate อาหาร Chromocult Coliform agar (CCA) ถูกนำมาใช้เป็นอาหารสำหรับการตรวจวิเคราะห์เชื้อ โดยอาหารดังกล่าวมีส่วนผสมของโครมาเจนิกซับเสตรททำให้เกิดการฟอร์มตัวของโคโลนีสีม่วงซึ่งเป็นโคโลนีของ E. coli และโคโลนีสีชมพูหรือแดงที่อาจจะเป็นโคโลนีจาก E. coli O157:H7 ทั้งนี้ข้อด้อยของวิธีการที่นำเสนอเป็นการลดขนาดการวิเคราะห์ โดยจำกัดปริมาตรของตัวอย่างที่ใช้วิเคราะห์ประมาณ 10-20 u1 และให้ระดับปริมาณเชื้อต่ำสุดที่สามารถตรวจพบได้ที่ปริมาณ 10 2 CFU/ml อย่างไรก็ตามห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ของโรงงานอุตสาหกรรมอาหารโดยทั่วไปใช้ปิเปตแก้วซึ่งสามารถที่จะตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนของเชื้อได้ที่ปริมาณต่ำสุดที่ประมาณ 10 CFU/ml ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบผลการนับปริมาณเชื้อจากทั้ง 2 วิธี พบว่าให้ผลที่สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน โดยประสิทธิภาพของเทคนิคการลดขนาดการวิเคราะห์ สามารถที่จะจัดการกับปริมาณตัวอย่างจำนวนมากด้วยการใช้ 96-well U-bottomed polypropylene plate ร่วมกับการใช้อุปกรณ์ลำเลียงตัวอย่างผ่าน multichannel pipette และติดตามการตรวจหาโคโลนีด้วยกล้องดิจิตอลกำลังขยายสูงร่วมกับการใช้อุณหภูมิบ่มที่เหมาะสมที่ 37' C สามารถให้ผลการวิเคราะห์ภายในเวลา 12-16 h อีกทั้งเมื่อทำการสอบเทียบวิธีการวิเคราะห์ที่ได้นำเสนอ (MIC) กับวิธีการที่ยังคงมีใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ MPN method, Petrifilm TM by 3M และ pour plate ปริมาณโคโลนีที่นับได้จากผลิตภัณฑ์อาหารให้ผลที่เหมือนกันเป็นที่ยอมรับเมื่อเทียบกับวิธีการทางมาตรฐาน อีกทั้งผลการประเมินจากเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ QC ในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว ให้คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในการใช้งานอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับวิธี pour plate ที่ทางโรงงานใช้ เทคโนโลยีการเพาะเชื้อระดับจุลภาค เพื่อการนับโคโลนีเหล่านี้สามารถใช้แทนที่วิธีการที่มีการใช้อยู่ในปัจจุบันซึ่งมีความล่าช้าและยุ่งยาก อีกทั้งช่วยเพิ่มความคุ้มค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ในแง่ของราคาต้นทุนการวิเคราะห์ต่อตัวอย่าง
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1938
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2560_072.pdf22.85 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น