กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1925
ชื่อเรื่อง: | รูปแบบการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาครู: ศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Thinking style for 21 st century learning of undergraduate students : A comparison study between faculty of Education Burapha University, Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เพ็ญนภา กุลนภาดล ผลาดร สุวรรณโพธิ์ ประชา อินัง มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การเรียนรู้ ความคิด สาขาการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | รูปแบบการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาครู: ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการคิด โดยมีขั้นตอนการวิจัยและผลการวิจัยดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 เพื่อศึกษารูปแบบการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาครู ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ นิสิตครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 200 คน และนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว จำนวน 200 คน ที่ใช้ในการศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการคิด ผลการศึกษาวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของรูปแบบการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาครู (ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปลิสเรล) พบว่า โมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของรูปแบบการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสมาชิกครอบครัว ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ มิติด้านหน้าที่ มิติด้านรูปแบบ มิติด้านระดับ มิติด้านขอบเขต มิติด้านการโน้มเอียง มีค่าสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ในเกณฑ์สูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถวัดองค์ประกอบของรูปแบบการคิดได้ 2) เมื่อแยกวิเคราะห์ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนิสิตครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว พบว่า รูปแบบการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตครูมหาวิทยาลัยบูรพา และ นักศึกษาครู มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว มีองค์ประกอบร่วมกัน 5 องค์ประกอบ ได้แก่ มิติด้านหน้าที่ มิติด้านรูปแบบ มิติด้านระดับ มิติด้านขอบเขต มิติด้านการโน้มเอียง มีค่าสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ในเกณฑ์สูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสามารถวัดองค์ประกอบของรูปแบบการคิดได้ ขั้นตอนที่ 2 เพื่อพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างรูปแบบการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตครู คณะวิจัยได้พัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างรูปแบบการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตครูโดยใช้กรอบแนวคิดด้านการพัฒนาทักษะกระบวนการคิด หลักการทางจิตวิทยา หลักการด้านการเรียนรู้ หลักการด้านการพัฒนาหลักสูตรและการสอน บูรณาการเพื่อสร้างเป็นหลักสูตรฯ ที่มีองค์ประกอบของการพัฒนารูปแบบการคิดใน 5 มิติ ได้แก่ มิติหน้าที่ มิติรูปแบบ มิติระดับ มิติขอบเขต มิติโน้มเอียง หลักสูตรสามารถในการอบรมเพื่อพัฒนารูปแบบการคิด ใช้ระยะเวลาในการอบรม 6 ชั่วโมง ที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ 3. เพื่อศึกษาผลของการทดลองใช้หลักสูตรเสริมสร้างรูปแบบการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่มีคะแนนรูปแบบการคิด ต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 จำนวน 40 คน ผลการทดลองใช้หลักสูตรเสริมสร้างรูปแบบการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ย รูปแบบการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในภาพรวม สุงกว่าที่ก่อนการเข้ารับการฝึกอบรม (X = 5.12 > X = 4.81) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 4.907, P = .000) เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายองค์ประกอบพบว่า องค์ประกอบมิติด้านหน้าที่ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง หลังจากที่ได้รับการเข้าร่วมหลักสูตรเสริมสร้างรูปแบบการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แล้วกลุ่มตัวอย่าง มีคะแนนเฉลี่ย สูงกว่าก่อนการเข้ารับการฝึกอบรม (X=5.16> X =4.71) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05( t=4.577, P =.000) องค์ประกอบมิติด้านรูปแบบ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง หลังจากที่ได้รับการเข้าร่วมหลักสูตรเสริมสร้างรูปแบบการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แล้วกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ย สูงกว่าก่อนการเข้ารับการฝึกอบรม (X = 5.09 > X = 4.67) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( t = 3.515, P = .001) องค์ประกอบมิติด้านระดับ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง หลังจากที่ได้รับการเข้าร่วมหลักสูตรเสริมสร้างรูปแบบการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แล้วกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ย สูงกว่าก่อนการเข้ารับการฝึกอบรม (X = 5.16 > X = 4.95) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 2.159, P = 0.37) องค์ประกอบมิติด้านขอบเขต พบว่า กลุ่มตัวอย่าง หลังจากที่ได้รับการเข้าร่วมหลักสูตรเสริมสร้างรูปแบบการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แล้วกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ย สูงกว่าก่อนการเข้ารับการฝึกอบรม (X = 5.28> X = 5.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( t = 2.724, P =.010) องค์ประกอบมิติด้านการโน้มเอียง พบว่า กลุ่มตัวอย่าง หลังจากที่ได้รับการเข้าร่วมหลักสูตรเสริมสร้างรูปแบบการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แล้วกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ย สูงกว่าก่อนการเข้ารับการฝึกอบรม (X = 4.92 < X = 4.65) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 2.980, P = .005) |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1925 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2568_008.pdf | 37.27 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น