กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1900
ชื่อเรื่อง: | การประเมินศักยภาพและการสร้างตำรับยาใหม่ของสมุนไพรไทย สำหรับการรักษาโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Evaluation and new formulation of Thai herbs for treatment of erectile dysfunction |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เอกรัฐ ศรีสุข กล่าวขวัญ ศรีสุข มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | กระชายดำ กวาวเครือแดง โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เร่วหอม สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ คือการที่อวัยวะเพศชายไม่สามารถแข็งตัวหรือคงการแข็งตัวได้ตลอดการมีเพศสัมพันธ์ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศนี้คือ ความชราภาพและโรคหลอดเลือด การลดการผลิตไนตริกออกไซด์ของเอนไซม์เอนโดทีเลียลไนตริกออกไซด์ซินเทส (eNOS) และการเพิ่มความเครียดออกซิเดชันเป็นผลให้มีการลดลงของชีวปริมาณของไนตริกออกไซด์ และสุดท้ายนำไปสู่ภาวะ endothelial dysfunction ซึ่งเป็นอาการเริ่มต้นของโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ โรคนี้อาจเกิดได้จากอนุมูลอิสระที่ทาปฎิกิริยากับไนตริกออกไซด์ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่สาคัญต่อการคลายตัวของหลอดเลือด นำไปสู่การลดลงของชีวปริมาณไนตริกออกไซด์ ในการศึกษานี้เลือกพืชสมุนไพรไทยจำนวน 5 ชนิด คือ มะรุม กระชายดา ค้างคาวดา เร่วหอม และกวาวเครือแดง ทาการสกัดพืชด้วย 95% เอทานอล 40% เอทานอล และน้ำร้อน นำส่วนสกัดทั้ง 15 ส่วน สกัดมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ คือ การกำจัดอนุมูล DPPH และอนุมูลซุปเปอร์ออกไซด์ รวมทั้งศึกษาผลต่อการผลิตไตริกออกไซด์ และการฟอสโฟรีเลชันของเลชันของเอนไซม์ eNOS ในเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดมนุษย์ (EA.hy926 cell line) จากนั้นทำการตั้งตารายาสมุนไพรใหม่จากพืชที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีประสิทธิภาพ และนำไปตรวจสอบต้านอนุมูลอิสระ และการกระตุ้นเอนไซม์ eNOS ทำการสร้างตำรับยาใหม่แบบ blended extracts ได้ 4 สูตร (BF1-BF4) จากส่วนสกัด 95% เอทานอลของมะรุม กระชายดา และกวาวเครือแดง และส่วนสกัดน้ำของกระชายดำ และเร่วหอม เราพบว่าตำรับยาสูตร BF3 และ BF4 มีฤทธิ์ต้านอนุมูล DPPH และอนุมูลซุปเปอร์ออกไซด์ที่ดี ทั้งยังเพิ่มการผลิตไนตริกออกไซด์และการฟอสโฟรีเลชันของเลชันของเอนไซม์ eNOS นอกจากนี้ทำการเตรียมตารับยาใหม่แบบ combined extracts ได้ 3 สูตร (CF1-CF3) จากมะรุม กระชายดา และกวาวเครือแดง และทำการสกัดสารด้วยวิธีการหมัก และวิธี soxhlet พบว่าตำรับยาสูตร CF1 ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และการผลิตไนตริกออกไซด์ไดดีที่สุดในตำรับยาแบบ combined extracts การสกัดสารด้วยวิธีการหมัก ให้ฤทธิ์ทางชีวภาพที่ดีกว่าวิธี soxhlet จากนั้นทำการศึกษากลไกการเพิ่มการผลิตไนตริกออกไซด์ของตำรับยาสูตร BF3 พบว่าตำรับยาสูตร BF3 กระตุ้นการฟอสโฟรีเลชันของเอนไซม์ eNOS และเอนไซม์ที่ส่งสัญญาณชีวภาพที่อยู่เหนือขึ้นไป คือ เอนไซม์ Akt ข้อมูลที่ได้แสดงให้เห็นว่าตำรับยาสูตร BF3 อาจถูกนำไปพัฒนาเป็นอาหารเสริมเพื่อใช้รักษา และป้องกันโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1900 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2560_061.pdf | 3.56 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น