กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1889
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An evaluation of the bachelor of education program (5 years) in mathematics teaching (revised A.D.2011), Faculty of Education, Burapha University.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: คมสัน ตรีไพบูลย์
พาวา พงษ์พันธุ์
พจนีย์ เถิงจ่าง
รุ่งอรุณ บุญพยุง
สญามน รูปต่ำ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การประเมินหลักสูตร. หลักสูตร
การศึกษา - - หลักสูตร
มหาวิทยาลัยบูรพา คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ - - หลักสูตร
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) ตามรูปแบบซิปป์ (CIPP model) ได้แก่ ประเมินด้านบริษัท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต 2) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นิสิตสาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์จำนวน 18 คน ผู้บริหารสถานศึกษาของสถานศึกษาและครูพี่เลี้ยงของนิสิตจำนวน 28 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน อาจารย์ประจำหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต จำนวน 5 คน และอาจารย์ผู้สอนจำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และ แบบสัมภาษณ์การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติคือ ค่าเฉบี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวาการสอนคณิตศาสร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ตามรูปแบบซิปป์ (CIPP model) ได้แก่ ประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านการผลิต โดยภาพรววมพบว่ามีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2. ผลการศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีสิ่งที่ต้องพัฒนาและปรับปรุงได้แก่ ด้านบริบท พบว่า ปรัชญาของหลักสูตรสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาสังคมนั้นไม่สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาสังคม ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า สภาพแวดล้อมยังไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน ด้านกระบวนการ พบว่า ดครื่องมือและวิธีการที่ใช้ในกาวัดผลไม่มีความเหมาะสมและไม่มีประสิทธิภาพและด้านผลผลิต พบว่า ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ด้านทักษะทางปัญญา นิสิตไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยการนำหลักการต่างๆมาอ้างอิงได้อย่างเหมาะสม
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1889
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_212.pdf4.85 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น