กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1885
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุดารัตน์ สวนจิตร | th |
dc.contributor.author | อภิรดี ปิลันธนภาคย์ | th |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:09:54Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:09:54Z | |
dc.date.issued | 2549 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1885 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของจุลินทรีย์และยีนนำรหัสเอนไซม์ เซลลูเลสจากเมตาจีโนมของดินจากนาเกลือ ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ในการศึกษาความหลากหลาย ของจุลินทรีย์ทำโดยนำตัวอย่างดินป่าชายเลนมาสกัดเมตาจีโนมิกดีเอ็นเอ จากนั้นนำมาใช้เป็นแม่แบบในปฏิกิริยาพีซีอาร์ สำหรับเพิ่มปริมาณยีน 16S rRNA ของแบคทีเรียทั่วไป แอคติโนแบคทีเรียและอาร์เคีย รวมทั้งเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอบริเวณ Internal transcribe spacer (ITS) ของยีสต์และราสาย นำผลิตภัณฑ์พีซีอาร์ที่ได้ไปโคลนเพื่อสร้างห้องสมุดยีน 16S rRNA หรือห้องสมุด ITS และคัดเลือกโคลนเพื่อนำไปอ่านลำดับนิวคลีโอไทด์ วิเคราะห์ความคล้ายคลึงของข้อมูลลำดับนิวคลีโอไทด์เปรียบเทียบกับฐานข้อมูล GenBank บน NCBI (http://www.ncbi.nlm.nih.gov/) ผลการศึกษาความหลากหลายของแบคทีเรีย พบแบคทีเรียในไฟลัม Proteobacteria มากที่สุด (49.3 %) รองลงมาคือไฟลัม Firmicutes (36.2 %) และไฟลัม Bacteroidetes (14.5 %) จีนัสตัวแทนที่พบโดดเด่นในกลุ่มแบคทีเรียทั่วไปคือ Halomonas, Salimicrobium และ Salinibacter ในขณะที่ห้องสมุดยีน 16S rRNA ของแอคทิโนแบคทีเรีย พบสมาชิกใน 2 จีนัส ซึ่งเป็นที่รู้จัก คือ Streptomyces และ Saccharopolyspora รวมทั้งพบแอคทิโนแบคทีเรียอีกอย่างน้อย 1 แทกซอนที่คาดว่าน่าจะเป็นจีนัสใหม่ ส่วนราสายและยีสต์ที่พบบ่อยคือจีนัส Aspergillus และ Meyerozyma ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ในการค้นหายีนนำรหัสเอนไซม์เซลลูเลสโดยใช้กระบวนการทางด้าน เมตาจีโนมิกส์ รวมทั้งการตรวจสอบโดยเทคนิคพีซีอาร์ ไม่พบยีนนำรหัสเอนไซม์เซลลูเลสจาก เมตาจีโนมของดินนาเกลือที่นำมาศึกษาทุกตัวอย่าง ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาวิธีการตรวจสอบ ในลำดับต่อไป จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าถึงแม้นาเกลือเป็นระบบนิเวศที่มีสภาวะรุนแรงในด้านปัจจัยความเค็ม แต่ก็สามารถเป็นแหล่งอาศัยของจุลินทรีย์ที่หลากหลาย โดยจุลินทรีย์จำนวนมากมีความเฉพาะและไม่พบในสภาพแวดล้อมปกติ ทำให้มีความน่าสนใจในการศึกษาบทบาทของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศนี้ โดยเฉพาะในด้านการผลิตสารชีวภาพที่มีความสำคัญทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งหากมีการศึกษาในรายละเอียดให้มากขึ้น อาจนำไปสู่การค้นพบจุลินทรีย์ แทกซ้อนใหม่และสารชีวภาพที่มีคุณค่า รวมถึงความเป็นไปได้ของการประยุกต์ใช้ทรัพยากรจุลินทรีย์และสารชีวภาพจากพื้นที่นาเกลือได้ต่อไปในอนาคต | th_TH |
dc.description.sponsorship | ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ 2557 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ความหลากหลายทางชีวภาพ | th_TH |
dc.subject | จุลินทรีย์ | th_TH |
dc.subject | นาเกลือ | th_TH |
dc.subject | สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา | th_TH |
dc.subject | เมตาจีโนมิกส์ | th_TH |
dc.subject | เอนไซม์เซลลูเลส | th_TH |
dc.title | ความหลากหลายของจุลินทรีย์และยีนที่นำรหัสเอนไซม์เซลลูเลส จากเมตาจีโนมของสิ่งแวดล้อมที่มีสภาวะรุนแรง | th_TH |
dc.title.alternative | Metagenomics-based diversity of extremophiles and cellulase-encoding genes from extreme environments | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2559 | |
dc.description.abstractalternative | This research was conducted to explore microbial diversity in solar saltern located in Chachoengsao province. Samples of hypersaline soil were collected and used as a source of metagenomic DNA. A respective library of 16S rRNA gene was constructed for bacteria, actinobacteria and archaea, while the library of internal trancribed spacers (ITS) was prepared for fungi. Recombinant clones were screened and sequenced. Similarity searching of nucleotide sequences was performed on GenBank database (http://www.ncbi.nlm.nih.gov/). Bacterial distribution was found in three phyla by which Proteobacteria was the most dominant (49.3 %) followed by Firmicutes (36.2 %) and Bacteroidetes (14.5 %). The representative genera of bacteria were Halomonas, Salimicrobium, and Salinibacter. In the 16S rRNA library of actinobacterial phylum, two known genera were found, i.e. Streptomyces and Saccharopolyspora. In addition, at least a novel genus of actinobacteria was also expected to be presented in this library. On the other hand, the ITS library demonstrated diverse fungal taxa. Aspergillus and Meyerozyma were the most abundant genera of mold and yeast, respectively. Cellulase-encoding gene was explored by metagenomics-functional screening as well as primer-specific PCR amplification. Unfortunately, the task was not successful and implementing a proper protocol is needed. Overall results taken from this investigation reflects the fact that although solar saltern is an extreme environment regarding its salinity, this ecosystem is a crucial reservoir of diverse microorganisms which many of them are unique. In depth investigation would fulfill knowledge that could benefit not only the discovery of novel taxa of microorganisms and valuable metabolites of industrial interest, but also their future applications. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น