กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1879
ชื่อเรื่อง: พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นแสนสุขและจิตอาสาผู้สุงอายุ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Developing of local wisdom and volunteer spirit among the elderly at Saensuk Municipality
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พวงทอง อินใจ
สมหมาย แจ่มกระจ่าง
ศรีวรรณ ยอดนิล
น้ำทิพย์ คำแร่
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
คำสำคัญ: จิตอาสา
ผู้สูงอายุ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ประเทศไทยจะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ อย่างสมบูรณ์แบบในช่วงประมาณ 2573 การก้าวสู่วัยสูงอายุเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การใช้ชีวิตในวัยสูงอายุอย่างมีคุณภาพคือสิ่งที่สำคัญกว่า โดยเฉพาะเมื่อได้ใช้ชีวิตแบบจิตสาธารณะ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม การวิจัยนี้ เป็นการศึกษาคุณลักษณะผู้สูงอายุจิตอาสาต้นแบบ กระบวนการดำเนินกิจกรรมจิตอาสา และแนวทางการพัฒนา ผู้สูงอายุจิตอาสาเมืองแสนสุข โดยรูปแบบการวิจัยเชิงปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenological research) ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) แบบลูกโซ่ (snow ball) ในกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีประสบการณ์การทำงานเป็นจิตอาสา ในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อย่าง ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 เดือน สามารถสื่อสารและช่วยเหลือตนเองได้ และสมัครใจให้ข้อมูล จำนวน 17 ราย การเก็บข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) และสนทนากลุ่มย่อย (Focus group) แล้ววิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุจิตอาสา มีประสบการณ์การทำงานจิตอาสา ระยะเวลานานที่สุด มากกว่า 10 ปี ทุกคนปฏิบัติงานจิตอาสาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง มีคุณลักษณะสำคัญ 5 ประการ ได้แก่ มีใจรัก (Integrity) มีเวลา (Flexibility) มีความพร้อมส่วนตน (Energy) มีวินัย (Reliability) และมีความรับผิดชอบ (Responsibility) กระบวนการดำเนินกิจกรรมจิตอาสาระหว่างผู้สูงอายุจิตอาสา กับหน่วยงานแบบยั่งยืน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) หน่วยงาน/ องค์กรที่ต้องการให้มีจิตอาสา มาปฏิบัติ ดำเนินการโดย 5 ขั้นตอน คือ ให้การยอมรับ กำหนดขอบเขตภารกิจที่ต้องการให้ช่วยปฏิบัติ ระบุพื้นที่ที่ต้องปฏิบัติ กำหนดบุคคลประสานงานหลัก คัดเลือก และปฐมนิเทศ และ 2) ผู้สูงอายุที่สนใจปฏิบัติงานจิตอาสา ให้ศึกษาขอบเขตงานที่จะปฏิบัติ เลือกพื้นที่ปฏิบัติ เตรียมความพร้อมส่วนตน จัดการตนเองให้พร้อมในการปฏิบัติ และเข้าร่วมดำเนินกิจกรรม และประเมินผล โดยมีประเด็นการเชื่อม 2 ส่วนนี้โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ การติดต่อกับบุคคลโดยตรง และการประชุมอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนแนวทางการพัฒนาผู้สูงอายุจิตอาสาเมืองแสนสุขในประเด็นด้านความรู้ที่จำเป็นสำหรับการดำเนินกิจกรรม ทักษะความสามารถพิเศษ เช่น สิ่งประดิษฐ์ งานฝีมือ การทำขนม การทำอาหาร เป็นต้น การบริหารเวลา ความพร้อมส่วนตนด้านสุขภาพ และใจรักงานจิตอาสา เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการปฏิบัติงาน อันนำไปสู่ประโยชน์สูงสุดทั้งแก่องค์กร และผู้สูงอายุ จิตอาสา ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้บริบทของผู้สูงอายุและกติกาของหน่วยงานนั้น ๆ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1879
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2560_019.pdf1.32 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น