กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1874
ชื่อเรื่อง: ผลของการใช้รูปแบบการส่งเสริมการจัดการดูแลตนเองที่เน้นการสร้างสุขในผู้เป็นความดันโลหิตสูงและกลุ่มเสี่ยง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of the creating happiness self-care model for hypertensive persons and risk group
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วริยา วชิราวัธน์
ศิริวัลห์ วัฒนสินธุ์
ทัศนีย์ วรภัทรากุล
อังคนา ศิลปรัตนาภรณ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: การดูแลตนเอง
ความดันโลหิตสูง
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการส่งเสริมการจัดการดูแลตนเองที่เน้นการสร้างสุขในผู้เป็นความดันโลหิตสูงและกลุ่มเสี่ยงที่มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี โดยใช้แนวคิดการดูแลตนเองของโอเร็ม เป็นแนวทางในการจัดดำเนินการ กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตและกลุ่มอาชีพรับจ้างในมหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 72 คน ผู้วิจัยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามี 2 ส่วน คือ ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยและเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามความรู้และพฤติกรรมสุขภาพในการจัดการดูแลตนเอง และเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ในผู้เป็นความดันโลหิตสูงและกลุ่มเสี่ยงโดยโดยใช้เทคนิคการสร้างสุขที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นใช้ระยะเวลาดำเนินการทดลอง 4 สัปดาห์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติค่าที ผลการวิจัยพบว่า เมื่อสิ้นสุดการทดลอง กลุ่มศึกษามีคะแนนเฉลี่ยความรู้และพฤติกรรมสุขภาพในการจัดการดูแลตนเองสูงกว่าก่อนการทดลอง (t = 11.14, p = < .001 และ t = 4.28, p = < .001 ตามลำดับ) ในขณะที่ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายหลังการทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลอง (t = 2.21, p = ns) ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นประโยชน์ของการใช้รูปแบบการส่งเสริมการจัดการดูแลตนเองในผู้เป็นความดันโลหิตสูงและกลุ่มเสี่ยงที่ให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมด้านจิตใจ มีพฤติกรรมสุขภาพและทักษะในการจัดการดูแลตนเองเหมาะสมกับภาวะโรคและความเสี่ยงของการเกิดโรค โดยโปรแกรมสามารถเพิ่มความรู้และพฤติกรรมสุขภาพในการจัดการดูแลตนเองได้ อย่างไรก็ตามค่า การเปลี่ยนแปลงของค่าดัชนีมวลกายยังไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1874
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_007.pdf2.97 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น