กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1852
ชื่อเรื่อง: | ทรอสโทไคตริดส์จากระบบนิเวศชายฝั่งทะเลจังหวัดชลบุรี (ป่าชายเลน): ความหลากหลายทางชีวภาพและการคัดแยกเพื่อจัดทำฐานข้อมูลและการนำไปใช้ประโยชน์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Thraustochytrids along coastal ecosystem of Chon Buri Province (Mangrove forest): Biodiversity, screening and isolation for database and utilities |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมถวิล จริตควร สุดารัตน์ สวนจิตร มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ความหลากหลายทางชีวภาพ ระบบนิเวศชายฝั่งทะเล สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้ได้คัดแยกจุลินทรีย์ทะเลกลุ่มทรอสโทไคตริดส์จากใบไม้ป่าชายเลนที่ร่วงหล่นบริเวณป่าชายเลน 3 แห่ง ได้แก่ สถานีที่ 1 ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและอนุรักษ์ป่าชายเลน จังหวัดชลบุรี สถานีที่ 2 ป่าชายเลนคลองโปร่ง ตำบลอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี และสถานีที่ 3 สวนป่าชายเลน ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พบทรอสโทไคตริดส์ทั้งสิ้น 715 ไอโซเลท สามารถจัดจำแนกตามลักษณะทางสัณฐานวิทยาได้ 10 ชนิด ได้แก่ Aurantiochytrium mangrovei (Schizochytrium mangrovei), Aurantiochytrium limacinum (Schizochytrium limacinum) Aurantiochytrium sp.1, Aurantiochytrium sp.2, Aurantiochytrium sp.3, Aurantiochytrium sp.4, Aurantiochytrium sp.5, Aurantiochytrium sp.7 และทรอสโทไค-ตริดส์ที่ไม่สามารถจาแนกได้ 2 ชนิด คือ Unknown 1 และ Unknown 2 ทรอสโทไคตริดส์มีการพบ (Frequency of Occurrence) เฉลี่ยอยู่ในช่วง 2.50-57.50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่ง A. mangrovei และ A. limacinum พบเป็นชนิดเด่น โดยพบสูงสุดที่ใบแสมขาว มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 57.50% และ 28.75% ตามลำดับ สำหรับกรดไขมัน A. limacinum มีปริมาณดีเอชเอสูงสุด (4.71-191.07 มิลลิกรัม/กรัมน้ำหนักแห้ง, 1.43-29.67 % ของกรดไขมันทั้งหมด) และ A. mangrovei (20.75-175.34 มิลลิกรัม/กรัมน้ำหนักแห้ง, 0.84-31.09 % ของกรดไขมันทั้งหมด) ส่วนเออาร์เอพบใกล้เคียงกัน โดย A. limacinum มีปริมาณสูง (0.09-0.55 มิลลิกรัม/กรัมน้ำหนักแห้ง, 0.03-0.10 % ของกรดไขมันทั้งหมด) สาหรับอีพีเอพบใกล้เคียงกันแต่มีค่าสูงใน A. mangrovei (0.52-5.67 มิลลิกรัม/กรัมน้ำหนักแห้ง, 0.13-0.60 % ของกรดไขมันทั้งหมด) ดีพีเอพบสูงใน A. limacinum และ A. mangrovei ที่มีค่าใกล้เคียงกัน โดยมีค่าอยู่ในช่วง 1.37-37.71 มิลลิกรัม/กรัมน้ำหนักแห้ง (0.41-6.08 % ของกรดไขมันทั้งหมด) และ 4.74-41.87 มิลลิกรัม/กรัมน้ำหนักแห้ง (0.23-7.51 % ของกรดไขมันทั้งหมด) ตามลำดับ ส่วน A. mangrovei มีมวลชีวภาพสูงสุด (6.88-22.49 กรัม/ลิตร) รองลงมาคือ A. limacinum มีมวลชีวภาพอยู่ในช่วง 9.39-20.71 กรัม/ลิตร จะเห็นว่าทรอสโทไคตริดส์มีศักยภาพสูงในการเป็นแหล่งกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง โดยเฉพาะดีเอชเอและอีพีเอที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำหรือเชิงพาณิชย์ต่อไป |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1852 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2560_049.pdf | 3.37 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น