กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1851
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนารูปแบบการยกระดับคุณภาพชีวิตการทำงานสำหรับครูผู้ช่วยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of a model for quality of work life improvement of assistant teachers in primary schools under jurisdiction of the office of Chonburi primary educational service area 1 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สฎายุ ธีระวณิชตระกูล มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ข้าราชการครู คุณภาพชีวิตการทำงาน สาขาการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลการใช้รูปแบบการยกระดับคุณภาพชีวิตการทำงานสำหรับครูผู้ช่วยในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 กลุ่มนำร่องของการใช้รูปแบบมี 3 โรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลวัดอู่ตะเภา โรงเรียนหนองน้ำเขียว และโรงเรียนบ้านคลองตะเคียน รวมจำนวนทั้งสิ้น 27 คน ประกอบด้วยผู้บริหาร 12 คน และครูผู้ช่วย 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบประเมินคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูผู้ช่วยในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าความถี่ (f) และ t-test (Dependent-t) ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานโดยรวมของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 ของครูผู้ช่วยในสังกัด จำนวน 112 คน พบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสุงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการเสริมสรา้งจิตวิญญาณความเป็นครู ด้านสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนร่วมงานและด้านการเสริมสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ตามลำดับ 2. รูปแบบการยกระดับคุณภาพชีวิตการทำงานสำหรับครูผู้ช่วยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชลบุรี เขต 1 ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้ช่วยประกอบด้วย กิจกรรมการพัฒนา 10 โมเดล ได้แก่ 1) การส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดีในที่ทำงาน 2) การส่งเสริมขวัญและกำลังใจ 3) การส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีกับผู้บังคับบัญชา 4) การส่งเสริมทักษะการมอบหมายงาน 5) การส่งเสริมทักษะการให้ข้อมูลป้อนกลับ 6) การสร้างเสริมความสมดุลของชีวิต 7) การสร้างเสริมแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 8) การสร้างเสริมจิตวิญญาณความเป็นครู 9) การสร้างเสริมการจัดการความเครียดในตนเอง และ 10) การสร้างเสริมสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน 3. ผลการใช้รูปแบบ พบว่า ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูผู้ช่วย 15 คน จาก โรงเรียนนำร่องของสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 หลังการใช้รูปแบบเป็นเวลา 7 เดือน พบว่า มีระดับคุณภาพชีวิตสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) โดยกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับมาก |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1851 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น