กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1844
ชื่อเรื่อง: สารต้านจุลชีพชนิดใหม่จากแบคทีเรียโพรไบโอติกเพื่อใช้ในการควบคุม มาตรฐานทางแบคทีเรียในผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแห้งและแปรรูปในจังหวัดชลบุรี.
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Novel antimicrobial agents from bacterial probiotics for controlling bacterial standard of dried and processed seafood products in Chon Buri Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุบัณฑิต นิ่มรัตน์
อรสา สุริยาพันธ์
วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: บาซิลลัส
ผลิตภัณฑ์อาหารทะเล
โพรไบโอติก
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษาเรื่อง สารต้านจุลชีพชนิดใหม่จากแบคทีเรียโพรไบโอติก เพื่อใช้ในการควบคุมมาตรฐานทางแบคทีเรียในผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแห้งและแปรรูปในจังหวัดชลบุรี โดยทำการศึกษา 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 คือการศึกษาถึงความสามารถของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ผลิตได้จากแบคทีเรียโพรไบโอติก Bacillus spp. ทั้งสายพันธุ์ (Bacillus subtilis, B. polymyxa, B. thuringiensis, B. megaterium และ B. licheniformis) ในรูปของส่วนใสเข้มข้นและสารกึ่งบริสุทธิ์ในการลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในตัวอย่างหมึกแห้งและแบคทีเรียก่อโรคได้ โดยพบว่าสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากแบคทีเรียโพรไบโอติก B. licheniformis ในรูปของสารกึ่งบริสุทธิ์ (PBL) มีประสิทธิภาพในการลดแบคทีเรียก่อโรค 4 ชนิด (Salmonella typhimurium, Escherichia coli, Bacillus cereus และ Staphylococcus sureus) ได้ดีที่สุด และดีกว่าไนซินและกรดแลคติก และทำการศึกษาต่อเนื่องถึงการศึกษาผลของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากแบคทีเรียโพรไบโอติกต่อแบคทีเรียกลุ่มเฮทเทอโรโทรปทั้งหมดในผลิตภัณฑ์หมึกแปรรูปและลักษณะทางเคมีและกายภาพ โดยเติมสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพลงบนตัวอย่างหมึกแปรรูปในขั้นตอนหลังเสร็จสิ้นกระบวนการผลิต ผลการศึกษาพบว่าในชุดการทดลองที่เติมสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ PBL, ไนซินและกรดแลคติก พบปริมาณแบคทีเรียกลุ่มเฮทเทอโรโทรปทั้งหมดค่อนข้างคงที่ตลอดการเก็บรัก๋่ 28 วัน ในขณะที่ชุดควบคุมพบว่าปริมาณแบคทีเรียกลุ่มเฮทเทอโรโทรปทั้งหมดมีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลาในการเก็บรักษา ส่วนลักษณะทางเคมีและกายภาพของตัวอย่างผลิตภัณฑ์หมึกแปรรูปทุกชุดการทดลองมีค่าที่ใกล้เคียงกัน และขั้นตอนสุดท้ายคือการศึกษาถึงคุณสมบัติของแบคทีเรียโพรไบโอติกทั้ง 5 สายพันธุ์ คือการศึกษาการดื้อยาปฏิชีวนะทั้ง 5 ชนิด (Ampicilln, Chloramphenicol, Gentamicin, Imipenem และ Tetracycline) ของแบคทีเรียโพรไบโอติก ทั้ง 5 สายพันธุ์ ผลการศึกษาพบว่า แบคทีเรียทั้งหมดไม่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะทั้ง 5 ชนิดที่กล่าวมา และดำเนินการศึกษาถึงฤทธิ์ทางเมแทบอลิกโดยทดสอบความสามารถในกิจกรรมของเอนไซม์ไฮโดรเลสในการย่อยเกลือน้ำดีของแบคทีเรียโพรไบโอติกทั้ง 5 สายพันธุ์ พบว่าแบคทีเรียโพรไบโอติกทั้ง 5 สายพันธุ์ แสดงกิจกรรมของเอนไซม์ไฮโดรเลสในการย่อยเกลือน้ำดีในระดับที่ไม่มีกิจกรรมจนถึงมีการแสดงกิจกรรมในระดับต่ำ ส่วนการวิเคราะห์ฤทธิ์ทางฮีโมไลติกของแบคทีเรียโพรไบโอติกทั้ง 5 สายพันธุ์ พบว่าผลการศึกษาไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับเลือดที่นำมาใช้ในการทดสอบ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1844
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น